การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของหาดท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต

  • นิรัตติยากร แสนนาใต้ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลักเกษตรศาสตร์
  • สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง, ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล, แบบจำลองบรูน, แบบจำลอง GENESIS, เกาะภูเก็ต

บทคัดย่อ

ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต มีการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวสูง การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งจึงส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอนาคต ปี ค.ศ. 2100 จาก 3 สถานการณ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตโดยใช้ระบบการวิเคราะห์เส้นชายฝั่งดิจิตอล, การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลด้วยแบบจำลองบรูน และการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากแบบจำลอง GENESIS โดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากภาพถ่ายดาวเทียม ปี ค.ศ. 2008 ถึง 2022 บริเวณหาดท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ หาดในทอน หาดกมลา หาดป่าตอง หาดกะรน และหาดกะตะ ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอดีตอยู่ระหว่าง -1.73 ถึง -0.43 ม./ปี และการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอนาคตจากข้อมูลในอดีต มีระยะการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเท่ากับ -82.68 ม., การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล มีระยะการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยในสถานการณ์ SSP1 2.6 และ SSP5 8.5 เท่ากับ -32.66 ม. และ -53.81 ม. ส่วนการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากแบบจำลอง GENESIS มีระยะการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเท่ากับ 9.98 ม. พบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งเมื่อพิจารณาเฉพาะปัจจัยในอดีตและจากปัจจัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พบว่าในอนาคตพื้นที่ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบกัดเซาะ และหากพิจารณาเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลอง GENESIS โดยไม่คำนึงถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายในทิศทางตั้งฉากกับแนวชายฝั่งมีค่าคงที่ พื้นที่ชายฝั่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบทับถมในอนาคต ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นมาตรการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลของหาดท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้