การระบุแนวชายฝั่งด้วยชุดเครื่องมือ CoastSat พื้นที่ศึกษาหาดท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ภัทรกร นิธินรางกูร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว
  • สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง, การระบุแนวชายฝั่ง, ภูเก็ต, CoastSat

บทคัดย่อ

พื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายในการใช้ประโยชน์สูง นอกจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุซัดฝั่งที่มีความรุนแรงและความถี่มากขึ้นเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว การกัดเซาะชายฝั่งตามฤดูกาลเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณา เพื่อป้องกันความเสียหายต่อชายหาด โดยเฉพาะหาดท่องเที่ยวที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นการระบุแนวชายฝั่ง จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการระบุแนวชายฝั่งคือภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของชายหาดท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต ด้วยชุดเครื่องมือ CoastSat ที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Google Earth Engine และระบุแนวชายฝั่งอัตโนมัติด้วยกระบวนการจำแนกประเภทข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2564 ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าชายหาดจำนวน 8 พื้นที่ เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ด้วยอัตรา -0.96 ถึง -4.10 เมตร/ปี ผลการศึกษาสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนรับมือต่อการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

นิธินรางกูร ภ., & ฤทธิ์พริ้ง ส. (2023). การระบุแนวชายฝั่งด้วยชุดเครื่องมือ CoastSat พื้นที่ศึกษาหาดท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, WRE05–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2389