การสูญเสียแรงเสียดทานผิวเสาเข็มเนื่องจากการหดตัวของดินเหนียวบวมตัว

  • กาญจนา หิรัญวัฒนะ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพจน์ ตันเส็ง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ: ดินเหนียวบวมตัว, มอนท์มอริลโอไนท์, แรงเสียดทานเสาเข็ม, การหดตัว, เสาเข็ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้กล่าวถึงการสูญเสียแรงเสียดทานผิวเสาเข็มเนื่องจากการหดตัวของดินเหนียวบวมตัวธรรมชาติ ที่พบใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยได้ทดสอบแรงเสียดทานผิวของเสาเข็มที่ฝังในดินเหนียวบวมตัวผสมกับดินเหนียวกระจายตัว ที่พบเป็น ปริมาณมากในบริเวณเดียวกัน การทดสอบใช้ดินบดอัดในแบบทดสอบบดอัดด้วยวิธีมาตรฐาน ดินบวมตัวที่ใช้มีอัตราส่วนผสมร้อยละ 0, 50 และ 100 และใช้ท่อนเหล็กกลมขนาด16 มิลลิเมตร กดลงในดินที่บดอัด โดยออกแบบให้แรงต้านต่อการกดเกิดเฉพาะแรงเสียดทานผิวเท่านั้น จากนั้นปล่อยให้ตัวอย่างดินแห้งในสภาวะแวดล้อมปกติ แล้วทำการทดสอบแรงต้านทาน ต่อการกดของแท่งเหล็กที่ฝังในดิน จากผลการทดสอบพบว่า แรงต้านที่ผิวเสาเข็มมีค่าลดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดิน ซึ่งเกิดจากการหดตัวของดิน จึงได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงเสียดทานผิวกับการการทรุดตัวของเสาเข็ม เป็นค่า Modulus of pile-soil reaction ของแรงเสียดทาน ( ) พบว่า แปรผันตาม การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดินสำหรับดินที่มีดินเหนียวบวมตัวปนอยู่เกินกว่าร้อยละ 50 และในงานวิจัยนี้ได้เสนอความสัมพันธ์ระหว่าง Adhesion factor ( ) กับปริมาณน้ำในดินซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเสาเข็มในดินที่มีดินเหนียวบวมตัวเป็นองค์ประกอบได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพจน์ ตันเส็ง , สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
Email: pornpot@sut.ac.th

เผยแพร่แล้ว
2023-07-08