ประสิทธิภาพของกำแพงกันดินเสาเข็มดินซีเมนต์สำหรับอุโมงค์ทางลอดในชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ
คำสำคัญ:
เสาเข็มดินซีเมนต์, การขุดดินลึก, ดินเหนียวอ่อน, กำแพงขวาง, วิธีไฟไนท์อีลิเมนต์ 3 มิติบทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงประสิทธิภาพของกำแพงกันดินเสาเข็มดินซีเมนต์ (soil cement column wall, SCC wall) ของการขุดดินลึกในชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพที่ใช้กำแพงขวาง (cross wall) ในการปรับปรุงเสถียรภาพก้นบ่อขุดแทนการติดตั้งค้ำยันชั่วคราว การศึกษานี้ใช้โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดของรถยนต์สำหรับอาคารชุดพักอาศัย ที่ผนังอุโมงค์อยู่ใกล้กับอาคารคอนโดมิเนียม ในงานวิจัยนี้ได้มีการเก็บข้อมูลการเคลื่อนตัวของดินหลังกำแพงกันดินในระหว่างการก่อสร้าง และนำมาใช้ในการวิเคราะห์โดยการจำลองด้วยวิธีไฟไนท์อีลิเมนต์สามมิติเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกำแพงกันดินและเปรียบเทียบการเคลื่อนตัวของกำแพงกันดินที่ไม่มีการเพิ่มเสถียรภาพก้นบ่อขุดด้วยกำแพงขวาง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กำแพงเสาเข็มดินซีเมนต์ที่มีการปรับปรุงเสถียรภาพด้วยผนังขวางที่ก้นบ่อขุดมีการเคลื่อนตัวทางด้านข้างของดินหลังกำแพงที่ต่ำและยังสามารถใช้ในงานขุดดินลึกในชั้นดินเหนียวอ่อนได้เป็นอย่างดี