การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจงานทางหลวง กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 3574 แยกมาบปู จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ต่อลาภ การปลื้มจิตร สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ณัฐพล แก้วทอง
  • พรนรายณ์ บุญราศี
  • จิรวัฒน์ จันทองพูน

คำสำคัญ:

อากาศยานไร้คนขับ, จุดควบคุมภาคพื้นดิน, แผนที่งานทางหลวง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจทำแผนที่งานทางหลวง ขอบเขตพื้นที่โครงการอยู่บริเวณ บนทางหลวงหมายเลข 3574 ช่วง แยกมาบปู อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี. ระยะทางประมาณ 5 กม. โดยบินถ่ายตามแนวเส้นทางหลวงและขยายพื้นที่ออกด้านข้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งและจำนวนจุดควบคุมภาคพื้นดินที่เหมาะสมกับงานทางหลวง และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้ โดยการศึกษานี้ภาพถ่ายมีค่าจุดภาพอยู่ที่ 4.11 เซนติเมตร ส่วนซ้อนด้านหน้าตามแนวบินร้อยละ 85 และส่วนซ้อนด้านข้างระหว่างแนวบินร้อยละ 75 พื้นที่โครงการสำรวจทั้งหมดทำการบินทั้งหมดจำนวน 4 เที่ยวบิน ซึ่งจะได้ภาพถ่ายดิ่งทั้งโครงการ 987 ภาพ จำนวนจุดควบคุม 17 จุด จุดตรวจสอบ 20 จุด โดยแยกรังวัดหมายจุดควบคุมภาคพื้นดิน 3 แบบ เพื่อประเมินค่าความถูกต้องของจุดตรวจสอบ ผลที่ได้คือการรังวัดหมายจุดควบคุมภาพถ่ายฯ แบบแบ่งเป็นบล็อก ๆ ละ 1 กม. จุดควบคุมฯ 5 จุด ระยะห่างระหว่างจุด 500 ม. ให้ค่าความคลาดเคลื่อนของจุดตรวจสอบดีที่สุด คือค่าความคลาดเคลื่อนของการหมายจุดควบคุม ค่า RMSE x y และ z เท่ากับ 0.37 0.42 และ 0.80 มม. ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของ Projection error เท่ากับ 0.095 จุดภาพ ค่าความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งจุดตรวจสอบ ค่า RMSE x y และ z เท่ากับ 5.43 5.25 และ 6.56 ซม. ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม และได้แผนที่ภาพถ่ายแนวดิ่งและข้อมูลแบบจำลองระดับพื้นผิวเชิงเลข

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

การปลื้มจิตร ต., แก้วทอง ณ., บุญราศี พ. ., & จันทองพูน จ. (2023). การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจงานทางหลวง กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 3574 แยกมาบปู จังหวัดชลบุรี. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI16–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2576