การประเมินความยาวเสาเข็มตอกด้วยวิธีการตอกหยั่งพลวัต

ผู้แต่ง

  • นัฐวุฒิ เหมะธุลิน
  • พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา
  • ปิโยรส ทะเสนฮด
  • ฐิรวัตร บุญญะฐี

คำสำคัญ:

การตอกหยั่งพลวัต, สมการตอกเข็ม, การเจาะสำรวจดินวิธีมาตรฐาน

บทคัดย่อ

การเจาะสำรวจชั้นดินด้วยวิธีตอกทดสอบทะลุทะลวงมาตรฐานเป็นการหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินในสนามแบบพลศาสตร์ และถูกนำไปใช้ในการออกแบบประเภท หน้าตัด ขนาด และความยาวเสาเข็มโดยใช้วิธีทางสถิตศาสตร์ ระยะจมในการตอกเสาเข็มถูกนำมาใช้ประเมินความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มในการก่อสร้าง บ่อยครั้งที่ความยาวเสาเข็มที่ออกแบบไว้ไม่จมอยู่ในชั้นดินที่ต้องการ อาจเนื่องมาจากความแปรปรวนของลักษณะชั้นดิน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายและเวลาในการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น วิธีการตอกหยั่งพลวัตเป็นวิธีการสำรวจชั้นดินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการสำรวจที่มีขั้นตอนง่าย และประหยัดกว่าการเจาะสำรวจวิธีมาตรฐาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างระยะจมของการตอกหยั่งพลวัตกับความสามารถในการรับแรงของเสาเข็มที่ได้จากสมการ Hiley จากข้อมูลจำนวนครั้งการตอกหยั่งพลวัตและการตอกเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน 3 ขนาดคือ 0.35*0.35 0.22*0.22 และ 0.18*0.18 เมตร โดยมีความยาว 8.5-11 เมตร จำนวนทั้งหมด 118 ต้น ที่ตอกในชั้นดินทรายแป้งปนดินเหนียว และ ทรายแน่น ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบตอกหยั่งพลวัตมีความสอดคล้องกับกำลังของเสาเข็ม ระยะจมในการตอกหยั่งพลวัตสามารถนำมาประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มตอกด้วยสมการตอก Hiley ได้และพบว่ารูปแบบการตอกหยั่งพลวัตแบบ DPSH-B ให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด การประมาณความยาวเสาเข็มจากการทดสอบตอกหยั่งพลวัตสามารถประมาณการได้จากจำนวนครั้งในการตอกหยั่งพลวัต

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

เหมะธุลิน น., ชัยพรรณา พ. ., ทะเสนฮด ป., & บุญญะฐี ฐ. . (2023). การประเมินความยาวเสาเข็มตอกด้วยวิธีการตอกหยั่งพลวัต. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE18–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2038

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##