การประมาณความยาวเสาเข็มด้วยการตรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนจากหลายจุดกำเนิด

  • อชิรพงศ์ ภิวัฒน์ธนบูรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พลพัชร นิลวัชราภรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฐิรวัตร บุญญะฐี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: การประมาณความยาวเสาเข็ม, การทดสอบ Ultra seismic, ธรณีฟิสิกส์

บทคัดย่อ

ความยาวของเสาเข็มที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการปรับปรุงอาคารหรือการขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้อาคาร การตรวจวัดเพื่อระบุความยาวเสาเข็มที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วิธี Parallel seismic test ที่จำเป็นต้องเจาะหลุมสำรวจเพิ่มเติมในบริเวณด้านข้างของเสาเข็มเดิมเพื่อทำการทดสอบ, วิธี Side echo test และ Sonic echo test ซึ่งต้องเคาะด้วยค้อนที่บริเวณด้านข้างหรือที่หัวเสาเข็มเพื่อสร้างคลื่นสั่นสะเทือน สำหรับงานวิจัยนี้จะศึกษาวิธีการประมาณความยาวเสาเข็มจากการตรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนที่เกิดจากจุดกำเนิดหลายตำแหน่ง (Ultra seismic test, Jalinoos and Olson, 1996) โดยใช้มาตรวัดการสั่นสะเทือนติดที่ด้านข้างของเสาเข็มแล้วเคาะด้านข้างของเสาเข็มด้วยค้อนที่ตำแหน่งที่อยู่ห่างจากมาตรวัดเป็นระยะที่แตกต่างกันไปจำนวน 10 จุด ซึ่งทำให้สามารถพิสูจน์ทราบความยาวของเสาเข็มได้แม่นยำกว่าวิธี Side echo test ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบกับเสาเข็มตอกในพื้นที่กรุงเทพ โดยจัดวางตำแหน่งของจุดกำเนิดและจุดรับสัญญาณคลื่นในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบ และ หาวิธีการตรวจวัดและประมวลผลที่ให้ผลการตรวจวัดที่ดีที่สุด ซึ่งพบว่าความคลาดเคลื่อนในการประเมินความยาวเสาเข็มจากการจัดวางตำแหน่งที่ดีที่สุดที่ใช้ในการศึกษานี้อยู๋ในช่วง 2.96% ถึง 6.29%

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้