แรงยึดเหนี่ยวของวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้ทรายละเอียด

Bond Stress of Reinforcing Rebars in Geopolymer Concrete

  • ปิโยรส​ ทะเสนฮด สาขาวิศวกรรมโยธา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนลีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ณรงค์พล พัศดร
  • ประทักษ์ ซิมทิม
  • เริงฤทธิ์ ปุริทัศ
  • พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา
  • นัฐวุฒิ เหมะธุลินุ
  • พุฒิพัทธ์ พุฒิพัทธ์ ฉ
คำสำคัญ: กำลังรับแรงอัด, แรงยึดเหนี่ยว, จีโอโพลิเมอร์คอนกรีต, ทรายละเอียด, วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอกำลังรับแรงอัดและแรงยึดเหนี่ยวของวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้ทรายละเอียด ตัวแปรด้านกำลังรับแรงอัดที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราสารละลายของโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.0 ถึง 2.5 อัตราส่วนมวลรวมต่อจีโอโพลิเมอร์เพสต์เท่ากับ 2.5 ถึง 4.5 และโมดูลัสความละเอียดทรายเท่ากับ 1.90 และ 2.65 โดยความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 10 โมลาร์ อัตราส่วนสารละลายต่อสารตั้งต้นเท่ากับ 0.65 และขนาดโตสุดของหินเท่ากับ 20 มิลลิเมตร สำหรับแรงยึดเหนี่ยวของวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตทดสอบมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 6 ถึง 20 มิลลิเมตร ผลทดสอบพบว่า อัตราส่วนมวลรวมต่อจีโอโพลิเมอร์เพสต์และอัตราส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 2.5 และ 1.5 ตามลำดับ เมื่อใช้ทรายละเอียด เป็นสัดส่วนที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณาสมบัติด้านกำลังและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับหน่วยแรงยึดเหนี่ยวของไฟเบอร์กสาลรีบาร์ในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตเท่ากับ 3.43√F'c/D เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน วสท. จะมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 24

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้