การทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างอาคารสามมิติที่สร้างโดยข้อมูลจุดเมฆ

ผู้แต่ง

  • พีรภพ โพธิ์พงษ์ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • รุ่งโรจน์ จักภิระ

คำสำคัญ:

การสำรวจด้วยภาพถ่าย, อากาศยานไร้คนขับ, จุดเมฆ, แแบบจำลองโครงสร้างอาคารสามมิติ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ในงานทางด้านวิศวกรรมได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะการใช้อากาศยานไร้คนขับในการถ่ายภาพเพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติ สำหรับงานทางด้านโครงสร้างแบบจำลองสามมิติสามารถนำมาใช้ในการประมาณราคาก่อสร้าง การวิเคราะห์สเถียรภาพของโครงสร้าง การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแบบโครงสร้างเป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยแบบจำลองที่มีความถูกต้องใกล้เคียงกับสิ่งปลูกสร้างจริง ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างสามมิติที่สร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจุดเมฆที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายด้วยอากาศยานไร้คนขับ โดยกำหนดลักษณะของโครงสร้างอาคาร 2 รูปแบบคือ โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างโบราณสถาน โดยกำหนดให้ความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบและทางดิ่งของภาพถ่ายไม่เกิน 6 เซนติเมตรและทำการสร้างรูปโครงสร้างตามลักษณะของจุดเมฆที่ปรากฏ จากนั้นทำการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างสามมิติโดยการเปรียบเทียบกับขนาดของโครงสร้างจริง ผลการทดสอบแบบจำลองโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางราบและทางดิ่งเท่ากับ 2.5 เซนติเมตรและโครงสร้างโบราณสถานพบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางราบและทางดิ่งเท่ากับ 1.8 เซนติเมตรและ 2.4 เซนติเมตรตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

โพธิ์พงษ์ พ., & จักภิระ ร. (2023). การทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโครงสร้างอาคารสามมิติที่สร้างโดยข้อมูลจุดเมฆ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI13–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2011

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##