การทดสอบหาจุดควบคุมภาคพื้นดินและความสูงบินที่เหมาะสม สำหรับการคำนวณปริมาตรงานดินจากข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ

ผู้แต่ง

  • พีรภพ โพธิ์พงษ์ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • ภาณุพล เล็กประเสริฐ "สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก"

คำสำคัญ:

ปริมาตรงานดิน, อากาศยานไร้คนขับ, จุดควบคุมภาคพื้นดิน, ความสูงบิน, การสำรวจ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการคำนวณปริมาตรงานดินจะใช้กล้องระดับหรือกล้องประมวลผลรวมในการเก็บรายละเอียดพื้นผิวภูมิประเทศเพื่อนำมาคํานวณหาปริมาตรงานดินโดยใช้เก็บรายละเอียดพื้นผิวภูมิประเทศแบบเฉลี่ยตามพื้นที่ ซึ่งทำให้ปริมาตรงานดินที่คํานวณได้มีความคลาดเคลื่อน เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงนำอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุนมาใช้ในการเก็บรายละเอียดภูมิประเทศโดยใช้ทฤษฎีภาพถ่ายทางอากาศและทำการศึกษาผลกระทบของข้อมูลพื้นผิวภูมิประเทศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับที่เกิดจากจุดควบคุมภาคพื้นดินและความสูงบิน โดยกำหนดจุดควบคุม 4 รูปแบบคือ แบบไม่มีจุดควบคุมภาคพื้นดิน แบบรอบพื้นที่ แบบเกาะกลุ่มกลางพื้นที่ และตารางกริดกระจายทั่วพื้นที่ และกำหนดความสูงบิน 3 ระดับความสูงคือ ระดับความสูงที่ 50 เมตร 60 เมตร และ 70 เมตร ผลของการทดสอบหาตำแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดินที่เหมาะสมสำหรับการคํานวณปริมาตรงานดินพบว่าการวางตำแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดินแบบตารางกริดกระจายทั่วพื้นที่และความสูงบินที่ระดับ 50 เมตร มีความถูกต้องมากที่สุดโดยมีความคลาดเคลื่อนของปริมาตรงานดินเมื่อเทียบกับปริมาตรงานดินที่ได้จากกล้องระดับอยู่ที่ 1.78 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นความคลาดเคลื่อนของปริมาตรร้อยละ 1.13

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

โพธิ์พงษ์ พ., & เล็กประเสริฐ ภ. (2023). การทดสอบหาจุดควบคุมภาคพื้นดินและความสูงบินที่เหมาะสม สำหรับการคำนวณปริมาตรงานดินจากข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI01–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2010

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##