การทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นยางพาราเสริมกำลังคันดินในสนามทดสอบ

  • ภัคภณ จรูญรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • อนุพุทธ์ เลียงสุนทรสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • ศลิษา ไชยพุทธ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • จิรัชญา อายะวรรณา สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก สำนักวิชาวิศวกรรมศาตร์ มหาวิยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา
  • ทรงกลด แซ่อึ้ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: การเสริมกำลัง, โครงสร้างชั้นทาง, แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน, แผ่นยางพารารมควัน, ยางพารา

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์ราคายางพาราในประเทศไทยที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง ปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงนำแผ่นยางพารารมควัน ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความยืดหยุ่น มีคุณสมบัติด้านการรับแรงดึง เช่นเดียวกับคุณสมบัติของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินมาประยุกต์ใช้ โดยการทดสอบประสิทธิภาพการเสริมกำลังของคันดินด้วยแผ่นยางพารารมควันในสนามทดสอบขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3.5 เมตร สูง 0.5 เมตร มีการติดตั้งแผ่นยางพารารมควัน จำนวน 2 ชั้น ที่ตำแหน่ง 0.05 เมตร และ 0.25 เมตร จากผิวดิน ทดสอบเปรียบเทียบกำลังการรับน้ำหนักของคันดินที่ไม่มีการเสริมกำลังและเสริมกำลังด้วยแผ่นยางพารารมควันด้วยการจำลองน้ำหนักของยานพาหนะขนาด 160 กิโลกรัม บรรทุกผ่านจำนวน 250 รอบ ตรวจวัดค่าการทรุดตัว (Settlement) และ ค่าความลึกของร่องล้อ (Rutting depth) จากการศึกษาตรวจวัดพฤติกรรมของคันดินในสนามทดสอบพบว่า คันดินบริเวณที่มีการเสริมกำลังด้วยแผ่นยางพารารมควัน มีค่าการทรุดตัว และ ค่าความลึกของร่องล้อ ลดลงน้อยกว่าคันดินบริเวณที่ไม่มีการเสริมกำลังด้วยแผ่นยางพารารมควันเฉลี่ยร้อยละ 32.63 และ 18.75 ตามลำดับ ดังนั้นแผ่นยางพารารมควันจึงมีประสิทธิภาพช่วยเสริมกำลังการรับแรงของคันดินในสนาม

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07