การศึกษาพฤติกรรมของกำแพงดินเสริมกำลังภายใต้แรงกระทำเคลื่อนที่บนรางรถไฟด้วยโปรแกรมไฟไนต์ เอลิเมนต์อ้างอิงการทดสอบขนาดจริง

ผู้แต่ง

  • โอจักรพรรดิ์ สุขชัยสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมกโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทตโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
  • ศลิษา ไชยพุทธ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ผศ.ดร.วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์
  • ผศ.ดร.ธนาดล คงสมบูรณ์

คำสำคัญ:

กำแพงกันดินเสริมกำลัง, ไฟไนต์เอลิเมนต์, น้ำหนักรถไฟ, แรงกระทำเคลื่อนที่, แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน

บทคัดย่อ

กำแพงกันดินเสริมกำลัง เป็นโครงสร้างเสริมกำลังของลาดดิน ช่วยเพิ่มเสถียรภาพ และความลาดชันของลาดดิน เพิ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์บริเวณที่ก่อสร้างให้มีมากขึ้น ในปัจจุบันการก่อสร้างกำแพงกันดินเสริมกำลังถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การก่อสร้างบริเวณคอสะพาน โดยเฉพาะในงานถนน ในขณะที่การก่อสร้างกำแพงกันดินเสริมกำลังยังไม่ถูกพัฒนาและก่อสร้างให้รองรับโครงสร้างทางรถไฟอย่างกว้างขวาง งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของกำแพงกันดินที่ก่อสร้างบนชั้นดินแข็ง รองรับแรงกระทำเคลื่อนที่จากการจำลองการเคลื่อนที่ของรถไฟด้วยความเร็วต่างๆ ได้แก่ 100, 150 และ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์ แบบ 3 มิติ แบบจำลองโครงสร้างทางรถไฟ มีขนาดกว้าง 4.10 เมตร วางอยู่บนกำแพงกันดินเสริมกำลัง ขนาดกว้าง 20.4 เมตร สูง 6 เมตร ที่มีความลาดชัน 70 องศา ตรวจสอบพฤติกรรมของกำแพงกันดินเสริมกำลังภายใต้การเปลี่ยนแปลงความเร็ว ได้แก่ การเคลื่อนตัวด้านข้าง การทรุดตัว และ ความเครียดที่เกิดขึ้นในแถบวัสดุเสริมกำลัง จากการศึกษาพบว่าการเคลื่อนตัวด้านข้างและการทรุดตัวมีค่ามากขึ้นเมื่อความเร็วของน้ำหนักกระทำมากขึ้น ความเค้นในวัสดุเสริมแรงเมื่อความเร็วมากขึ้นจะเกิดความเค้นจากแรงอัด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

สุขชัยสิทธิ์ โ., ไชยพุทธ ศ., ชาติพัฒนานันท์ ว., & คงสมบูรณ์ ธ. (2023). การศึกษาพฤติกรรมของกำแพงดินเสริมกำลังภายใต้แรงกระทำเคลื่อนที่บนรางรถไฟด้วยโปรแกรมไฟไนต์ เอลิเมนต์อ้างอิงการทดสอบขนาดจริง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE09–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2084

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##