ค่าสัมประสิทธิ์กำลังรับแรงเฉือนที่ผิวของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควัน

  • อนุพุทธ์ เลียงสุนทรสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • ภัคภณ จรูญรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • ศลิษา ไชยพุทธ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • จิรัชญา อายะวรรณา สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก สำนักวิชาวิศวกรรมศาตร์ มหาวิยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา
  • อุบะ ศิริแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: การทดสอบการเฉือนตรงขนาดใหญ่, การปรับปรุงคุณภาพดิน, แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน, ยางพารา, สัมประสิทธิ์กำลังรับแรงเฉือนที่ผิว

บทคัดย่อ

แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid) เป็นวัสดุที่ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ มีลักษณะคล้ายตาข่าย สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความแข็งแรงและเพิ่มเสถียรภาพให้แก่โครงสร้างชั้นดิน ในการศึกษานี้แผ่นยางพารารมควัน (Ribbed Smoked Sheet; RSS) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพาราและนับเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติถูกนำมาศึกษา เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่ทดแทนแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ การศึกษาประสิทธิภาพในการเสริมกำลังดินของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควัน (RSS geogrid) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์กำลังรับแรงเฉือนที่ผิว (Interface shear strength coefficient ; Rin) จากการทดสอบการเฉือนตรงขนาดใหญ่ (Large-scale direct shear) ภายใต้เงื่อนดินเสริมกำลังและไม่เสริมกำลัง แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควันถูกนำไปติดตั้งเพื่อเสริมกำลังดิน 2 ชนิด ได้แก่ ดินเหนียว (ดินเม็ดละเอียด) และ ดินทราย (ดินเม็ดหยาบ) จากการศึกษาพบว่า ค่า Rin ของดินเหนียว และ ดินทราย มีค่าเท่ากับ 1.033 และ 1.479 ตามลำดับ แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการเสริมกำลังดินของแผ่นตาข่ายเสริมกำลังดินที่ผลิตจากแผ่นยางพารารมควัน โดยเฉพาะดินทราย ซึ่งเป็นดินเม็ดหยาบ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07