กำลังอัดของซีเมนต์มอร์ตาร์ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันในปริมาณสูง

  • ทวิช กล้าแท้ 4 สาขาวิศวกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ. นครศรีธรรมราช
  • นภดล ศรภักดี
  • ชูเกียรติ ชูสกุล
  • สุพร ฤทธิภักดี
  • ประชุม คำพุฒ
  • เซาฟีร์ ดือราแม
คำสำคัญ: ซีเมนต์มอร์ตาร์, เถ้าปาล์มน้ำมัน, ปริมาณสูง, วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้เถ้าปาล์มน้ำมันบดละเอียด (GPOFA) แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (OPC) ในปริมาณสูง ที่มีต่อกำลังอัดของซีเมนต์มอร์ตาร์ โดยนำเถ้าปาล์มน้ำมันจากโรงงาน (OPOFA) มาบดละเอียดจนมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย (Median particle size, d50) เท่ากับ 7.7 ไมโครเมตร แทนที่ OPC ที่ร้อยละ 0, 20, 50, 60 และ 70 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (CT, 20GPOFA, 50GPOFA, 60GPOFA และ 70GPOFA) กำหนดอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานจากค่าปริมาณน้ำซึ่งทำให้เกิดค่าการไหลแผ่ร้อยละ 110±5 ผลการทดสอบพบว่า ซีเมนต์มอร์ตาร์ 20GPOFA, 50GPOFA, 60GPOFA และ 70GPOFA สามารถพัฒนากำลังอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 33.4, 30.1, 23.9 และ 16.1 เมกะปาสคาล หรือคิดเป็นร้อยละ 86, 77, 61 และ 41 ของ CT ตามลำดับ สำหรับการประเมินต้นทุนการผลิต พบว่า ซีเมนต์มอร์ตาร์ที่แทนที่ OPC ด้วย GPOFA มีต้นทุนวัสดุลดลงร้อยละ 12 ถึง 42 ในขณะที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าซีเมนต์มอร์ตาร์ 20GPOFA, 50GPOFA, 60GPOFA และ 70GPOFA มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงร้อยละ 16 ถึง 56 เมื่อเทียบกับ CT จากผลการทดสอบ สรุปได้ว่า GPOFA เป็นวัสดุปอซโซลานที่สามารถใช้แทนที่ OPC ได้ถึงร้อยละ 50 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน เพื่อผลิตเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้