การใช้เถ้ากะลามะพร้าวเป็นมวลรวมในการผลิตคอนกรีตบล็อกและอิฐบล็อกประสาน

  • ประชุม คำพุฒ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อมเรศ บกสุวรรณ
  • อรรถพล มาลัย
  • สาโรจน์ ดำรงศีล
คำสำคัญ: เถ้ากะลามะพร้าว, หินฝุ่น, คอนกรีตบล็อก, อิฐบล็อกประสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์จากเถ้ากะลามะพร้าวเป็นมวลรวมในการผลิตวัสดุก่อสร้างประเภทคอนกรีตบล็อกและอิฐบล็อกประสาน กำหนดอัตราส่วนของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1: เถ้ากะลามะพร้าว: หินฝุ่น เท่ากับ 1: 0: 7, 1: 0.2: 6.8, 1: 0.4: 6.6, 1: 0.6: 6.4, 1: 0.8: 6.2 และ 1: 1: 6 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.6 โดยน้ำหนัก ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่องอัด โดยที่คอนกรีตบล็อกมีขนาด 7 x 19 x 39 เซนติเมตร และอิฐบล็อกประสานมีขนาด 12.5 x 25 x 10 เซนติเมตร ทำการทดสอบคอนกรีตบล็อกตามมาตรฐาน มอก.58–2560 ทำการทดสอบอิฐบล็อกประสานตามมาตรฐาน มผช.602–2547 ผลการทดสอบพบว่า บล็อกที่ผสมเถ้ากะลามะพร้าวในปริมาณมาก มีน้ำหนัก การดูดกลืนน้ำ และความต้านทานแรงอัด ต่ำกว่าบล็อกที่ผสมเถ้ากะลามะพร้าวในปริมาณน้อย โดยอัตราส่วน 1: 0.6: 6.4 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตทั้งคอนกรีตบล็อกและอิฐบล็อกประสาน ซึ่งในสัดส่วนนี้สมบัติของทั้งสองผลิตภัณฑ์ที่อายุการบ่ม 28 วัน มีสมบัติความต้านทานแรงอัดต่ำกว่าส่วนผสมควบคุมประมาณร้อยละ 58, ปริมาณความชื้นมากขึ้นประมาณร้อยละ 31, การดูดซึมน้ำมากขึ้นประมาณร้อยละ 80 และความหนาแน่นลดลงประมาณร้อยละ 5

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06