อิทธิพลของปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์และเวลาการแช่ต่อการกัดกร่อนของเหล็กเส้นที่เกิดจากคลอไรด์โดยใช้วิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์

  • จิตติณัฐ ปล่องกระโทก สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย
  • ทศพร ศรีคำมา
  • ขัตติย ชมพูวงศ์
  • ชุดาภัค เดชพันธ์
  • ศตคุณ เดชพันธ์
  • ธนากร ภูเงินขำ
คำสำคัญ: วิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์, การกัดกร่อนของเหล็กเส้นที่เกิดจากคลอไรด์, ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์, เวลาการแช่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของศึกษาปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์และเวลาการแช่ที่มีผลต่อการเร่งการเกิดสนิมกัดกร่อนของเหล็กเส้นที่เกิดจากคลอไรด์ที่ทดสอบโดยใช้ด้วยวิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ โดยใช้ตัวอย่างคอนกรีตที่มีกำลังอัดไม่น้อยกว่า 21 เมกะปาสคาล ที่อายุการบ่มเท่ากับ 28 วัน ในการเตรียมตัวอย่างจะใช้ตัวอย่างคอนกรีตทรงปริซึมขนาด 75x75x300 มิลลิเมตร และใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด 12 มิลลิเมตร ฝังอยู่ในคอนกรีตให้มีระยะหุ้มคอนกรีตต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการแปรผันปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (ความเข้มข้นร้อยละ 3.5) ร้อยละ 25, 50 และ 75 ของความสูงตัวอย่างคอนกรีต โดยดำเนินการทดสอบการต้านทานการกัดกร่อนแบบเร่งผลการทดสอบ (Accelerated Corrosion with Impressed Voltage, ACVTIV) ที่มีการแปรผันระยะเวลาในการเร่งการเกิดสนิมเท่ากับ 3, 6 และ 9 ชั่วโมง ผลการทดสอบ พบว่า ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์และเวลาการแช่ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากผลการทดสอบสามารถสรุปได้ว่า การใช้ปริมาณสารละลายโซเดียมคลอไรด์ไม่ควรเกินร้อยละ 50 ของความสูงตัวอย่างคอนกรีต และเร่งในระยะเวลาในเร่งการเกิดสนิมไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง ขณะที่ระยะหุ้มคอนกรีตไม่ส่งผลต่อพื้นที่การเกิดสนิมด้วยวิธีศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์อย่างชัดเจน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-05
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้