ผลกระทบของการเคลือบผิวด้วยอัลคาไลซีเมนต์แบบส่วนผสมเดียวต่อแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีต

ผู้แต่ง

  • กมลภพ ขันธ์สัมฤทธิ์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
  • ฉัตรฑริกา เพียงพิมาย
  • ขัตติย ชมพูวงศ์
  • ชุดาภัค เดชพันธ์
  • ศตคุณ เดชพันธ์
  • ธนากร ภูเงินขำ

คำสำคัญ:

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีต, อัลคาไลซีเมนต์ แบบส่วนผสมเดียว, จีโอโพลิเมอร์ผงที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ, เคลือบผิวเหล็กเสริม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตเมื่อใช้อัลคาไลซีเมนต์เพสต์แบบส่วนผสมเดียวเป็นวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมเปรียบเทียบกับวัสดุเคลือบผิวทางการค้า โดยอัลคาไลซีเมนต์แบบส่วนผสมเดียวสามารถสังเคราะห์จากจีโอโพลิเมอร์ผง, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, เกล็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์ และน้ำประปา โดยแทนที่จีโอโพลิเมอร์ผงที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ร้อยละ 0, 15, 20, 25 และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน สำหรับการเตรียมตัวอย่างดำเนินการเคลือบผิวเหล็กเสริมที่อายุ 1 วัน และทดสอบแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตที่อายุบ่มคอนกรีตเท่ากับ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า ค่าแรงยึดเหนี่ยวมีแนวโน้มลดลงตามการแทนที่จีโอโพลิเมอร์ผงในปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแรงยึดเหนี่ยวของการแทนที่จีโอโพลิเมอร์ผงในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ไม่เกินร้อยละ 20 มีค่าเทียบเท่ากับการเคลือบผิวด้วยส่วนผสม 100PC และ Epoxy

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
ขันธ์สัมฤทธิ์ ก., เพียงพิมาย ฉ., ชมพูวงศ์ ข., เดชพันธ์ ช., เดชพันธ์ ศ., และ ภูเงินขำ ธ., “ผลกระทบของการเคลือบผิวด้วยอัลคาไลซีเมนต์แบบส่วนผสมเดียวต่อแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีต”, ncce27, ปี 27, น. MAT55–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##