พฤติกรรมการต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปเสา-คาน ระบบดึงลวดอัดแรงยึดรั้งด้วยค้ำยันที่ไม่โก่งเดาะ
คำสำคัญ:
การทดสอบภายใต้แรงวัฏจักรกึ่งสถิต, พฤติกรรมการคืนศูนย์ด้วยตนเอง, เหล็กเสริมอัดแรง, องค์อาคารยึดรั้งไม่โก่งเดาะบทคัดย่อ
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาพบว่าระบบโครงสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานภายใต้แรงแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีจุดอ่อนอยู่ที่บริเวณจุดต่อเสา-คาน เนื่องจากรอยต่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักจะมีกำลัง ความแกร่ง และความเหนียวน้อยกว่าคอนกรีตหล่อในที่ งานวิจัยนี้จึงเป็นการนำเสนอรูปแบบทางเลือกของจุดต่อโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานโดยใช้ลวดอัดแรงทำงานร่วมกับค้ำยันที่ไม่โก่งเดาะ โดยในการศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมจุดต่อภายนอกของโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานด้วย วิธีการทดสอบภายใต้แรงวัฏจักรกึ่งสถิตซึ่งเป็นการให้ระยะเคลื่อนตัวสลับทิศแก่ตัวอย่างทดสอบในงานวิจัยนี้เปรียบเทียบพฤติกรรมของจุดต่อ 3 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานแบบหล่อในที่ 2.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานภายนอกระบบ
ดึงลวดอัดแรงอย่างเดียว และ 3.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานระบบดึงลวดอัดแรงทำการเสริมกำลังโดยการใช้ค้ำยันยึดรั้งไม่โก่งเดาะเข้าที่บริเวณมุมของจุดต่อเสา-คาน ในการทดสอบได้มีการพิจารณาในด้านรูปแบบความเสียหาย, ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนที่ทางข้าง, ความแข็งแกร่ง, การสลาย พลังงาน ซึ่งผลจากการทดสอบพบว่า การเสริมท่อนค้ำยันยึดรั้งไม่โก่งเดาะจะช่วยทำให้โครงสร้างมีความเหนียว มีกำลังต้านทานทางด้านข้างและการสลาย พลังงานที่ใกล้เคียงกับตัวอย่างทดสอบแบบหล่อในที่
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์