พฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่คอนกรีตถูกแทนที่ด้วยโฟมบางส่วน

  • พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • อาศิส อัยรักษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • สมมาตร์ สวัสดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
คำสำคัญ: คานคอนกรีตเสริมเหล็ก, กำลังรับแรงดัด, โฟม

บทคัดย่อ

การที่คานคอนกรีตเสริมเหล็กมีน้ำหนักที่น้อยลงแต่ยังคงมีความสามารถในการรับก้าลังดัดได้อย่างมีนัยส้าคัญ การแทนที่คอนกรีตด้วยโฟมบางส่วนเพื่อเป็นการลดน้ำหนักของคานและศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดและลักษณะของการพิบัติของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยคานขนาดหน้าตัด 10 x 15 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร มีเหล็กเสริมด้านรับแรงอัดและแรงดึงเป็น RB9 2 เส้น ภายในแทนที่ด้วยโฟมขนาดหน้าตัด 2.50 x 5.00 เซนติเมตรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใส่โฟม 2 ชิ น ยาว 20 30 และ 40 เซนติเมตร และกลุ่มใส่โฟม 1 ชิ น ยาว 90 เซนติเมตร คอนกรีตที่ใช้มีค่าการออกแบบ 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ของคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์มาตรฐานที่อายุการบ่ม 28 วัน ตัวอย่างคานถูกทำการทดสอบด้วยการดัดแบบแรงกระทำ 3 จุดและ 4 จุด เพื่อทดสอบหาก้าลังต้านทานแรงดัดและการโก่งตัวจนกระทั่งคานเกิดการพิบัติ ผลที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริม เหล็กที่มีขนาดหน้าตัดและความยาวที่เท่ากันแต่ไม่มีการแทนที่ด้วยโฟม พบว่าตำแหน่งการวางโฟมแบบ 2x40 สามารถรับโมเมนต์ดัดได้สูงสุดคือ 6.46 กิโลนิวตันเมตร ซึ่งมีค่าต่้ากว่า 5.42 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคานตัวอย่าง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรับก้าลังดัดได้อย่างมีนัยส้าคัญเมื่อเทียบกับน้ำหนักของคานที่ลดลง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้