คอนกรีตกำลังสูงที่ใช้มวลรวมรีไซเคิลผ่านการปรับปรุงด้วยวิธีคาร์บอเนชั่น

  • อามีน เบ็ญอะฮ์หมัด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปกป้อง รัตนชู
  • อรรคเดช อับดุลมาติน
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร
  • ชัย จาตุรพิทักษ์กุล
คำสำคัญ: มวลรวมหยาบรีไซเคิล, คาร์บอเนชั่น, คุณสมบัติทางกายภาพ, กำลังอัด, โมดูลัสยืดหยุ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากำลังอัด โมดูลัสยืดหยุ่น และการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเถ้าถ่านหินเป็นวัสดุประสาน ในอัตราส่วนผสม 75:25 โดยน้ำหนัก และแทนที่มวลรวมหยาบธรรมชาติ (NCA) ด้วยมวลรวมหยาบรีไซเคิล (RCA) ที่ผ่านการปรับปรุงด้วยกระบวนการคาร์บอเนชั่น 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 นำมวลรวมหยาบรีไซเคิลอบด้วย  โดยตรง (RC) วิธีที่ 2 นำมวลรวมหยาบรีไซเคิลที่ผ่านการแช่สารละลายแคลเซียมคาร์ไบด์แล้วอบด้วย  (RCC) และวิธีที่ 3 นำมวลรวมหยาบรีไซเคิลที่ผ่านการแช่สารละลายแคลเซียมคาร์ไบด์ผสมเถ้าถ่านหินแล้วอบด้วย  (RCCF) ซึ่งทั้งสามวิธีทำการอบด้วย  ที่ระยะเวลา 1, 3 และ 7 วัน จากนั้นนำ RCA ที่มีสมบัติทางกายภาพที่ดีของแต่ละวิธีมาใช้เป็นมวลรวมหยาบในส่วนผสมของคอนกรีต ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุง RCA ทั้งสามวิธีสามารถเพิ่มคุณภาพ RCA ตั้งแต่ระยะเวลาการอบ  ที่ 1 วัน และระยะเวลาการอบที่ 7 วัน ให้สมบัติทางกายภาพดีที่สุด ส่วนวิธีการปรับปรุงที่ดีที่สุดคือ วิธี RCCF เมื่อเทียบกับการปรับปรุงอีก 2 วิธี และเมื่อนำ RCA ของแต่ละวิธีที่มาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีต พบว่า ที่อายุ 28 วัน คอนกรีตที่ใช้มวลรวม RC, RCC และ RCCF มีค่ากำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวม RCA ที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพร้อยละ 6, 12 และ 14 และค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2, 5, และ 9 ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้มวลรวม RCA ที่ผ่านการปรับปรุงด้วยกระบวนการคาร์บอเนชั่นมีส่วนช่วยให้คอนกรีตมีค่าการหดตัวแบบแห้งที่ลดลง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>