การศึกษาแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยมะพร้าวเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง

ผู้แต่ง

  • มะรอพา มามะ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส 2 กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ จ.นราธิวาส
  • กฤติยา อ่องวุฒิวัฒน์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส
  • อรรคเดช อับดุลมาติน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส
  • มูฮัมมัดซารีฟ สนิทวาที
  • เพ็ญพิชชา สนิทอินทร์

คำสำคัญ:

ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด, เส้นใยมะพร้าว, กำลังดัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนผสมที่เหมาะสมในการใช้เส้นใยมะพร้าวเป็นส่วนผสมในการผลิตแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ใช้เส้นใยมะพร้าวที่เป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรมาผสมเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง ใช้เส้นใยมะพร้าวคละความยาว 5, 10 และ 15 มิลลิเมตร ที่ 0%, 2.5%, 5%, 7.5%, 10%,12.5%, 15%, 17.5% และ 20% ต่อน้ำหนักปูนซีเมนต์ กำหนดอัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1 : 1 : 0.5 โดยน้ำหนักตามลำดับ ทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางกลตามมาตรฐานมอก. 1427-2561 จากผลการทดสอบแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยมะพร้าวพบว่า ที่สัดส่วนเส้นใยที่ 0%, 2.5%, 5%, 7.5%, 10%, 12.5%, 15%, 17.5% และ 20% มีค่าการรับแรงดัดที่ 1.52, 4.17, 5.14, 5.04, 5.05, 4.07, 4.67, 2.03,และ 0.45 เมกะพาสคัลที่อายุ 28 วันตามลำดับ จากผลการทดสอบดังกล่าวเห็นได้ว่า ในการผลิตแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์สามารถใช้เส้นใยมะพร้าวที่คละความยาวที่ 5-15 มิลลิเมตร ได้สูงถึง 15% ซึ่งมีค่าการรับแรงดัดมากกว่า มาตรฐาน มอก.1427-2561 กำหนดไว้ คือ 4 เมกะพาสคัล

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

มะรอพา มามะ, สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส 2 กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ จ.นราธิวาส

สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส

กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ จ.นราธิวาส

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##