การศึกษาผลกระทบด้านจราจรจากการเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) บนทางพิเศษฉลองรัช

  • ธนพร กรีวงษ์ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ธนุตม์ กล่อมระนก
  • เสาวนี ศรีสุวรรณ
  • ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญา
คำสำคัญ: ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, ผลกระทบด้านจราจร, ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow, ทางพิเศษ

บทคัดย่อ

การเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น Multi-Lane Free Flow หรือที่เรียกว่า M-Flow ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการชำระค่าผ่านทาง ช่วยให้ลดการติดขัดบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ จึงมีผลกระทบให้สภาพจราจรเปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยนี้พัฒนาแบบจำลองด้านจราจรเพื่อประเมินสภาพจราจรที่จะเกิดขึ้นหากเปิดให้บริการ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช โดยจะวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรเปรียบเทียบระหว่างการไม่มีโครงการ M-Flow (เปิดบริการเฉพาะเงินสด และ Easy Pass) และการมีโครงการ M-Flow ในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 พร้อมทั้งแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเวลาเร่งด่วน และนอกช่วงเวลาเร่งด่วน จากผลการศึกษาพบว่าการเปิดให้บริการระบบ M-Flow จะส่งผลให้ความล่าช้าลดลงได้มากกว่าการไม่มีโครงการ และเมื่อเปรียบเทียบค่าความล่าช้า พบว่าหากสัดส่วนผู้ใช้งานระบบ M-Flow มากขึ้น จะทำให้ค่าความล่าช้าลดลงมากกว่า รวมทั้งในช่วงเวลาเร่งด่วนการเปิดให้บริการระบบ M-Flow ทำให้ค่าความล่าช้าลดลงมากกว่านอกช่วงเวลาเร่งด่วน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
กรีวงษ์ธ., กล่อมระนกธ., ศรีสุวรรณเ., ปัญญาชัยวัฒนากูลศ., และ รัตนปัญญาเ., “การศึกษาผลกระทบด้านจราจรจากการเปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) บนทางพิเศษฉลองรัช”, ncce27, ปี 27, น. TRL22-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>