การศึกษาอิทธิพลของระยะห่างของการขุดอุโมงค์คู่แบบด้านต่อด้านที่มีผลต่อเสาเข็มที่มีอยู่เดิมโดย วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ 3 มิติ

  • สมเกียรติ เลิศกุลทานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชนา พุทธนานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
  • นฤนาท เหมะ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
  • พรเกษม จงประดิษฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
  • โอโชค ด้วงโสน วิศวกรอุโมงค์, บริษัทวิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด, จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
คำสำคัญ: อุโมงค์คู่แบบด้านต่อด้าน, ระยะห่างระหว่างผิวหน้าของการขุดอุโมงค์คู่, การศึกษาอิทธิพลของตัวแปร

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนระบบขนส่งมวลชนใต้ดินในชุมชนเมืองที่มีความหนาเเน่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโมงค์คู่ ด้วยเหตุนี้อุโมงค์จึงถูกก่อสร้างใกล้กับโครงสร้างที่มีอยู่เดิม (เช่น โครงสร้างเสาเข็ม) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการศึกษาในอดีตพบว่าการก่อสร้างอุโมงค์ใหม่นั้นสามารถก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของดินที่มากเกินไป ซึ่งการเคลื่อนตัวนี้สามารถทำให้ความเสียหายต่อเสาเข็มใกล้เคียงที่มีอยู่เดิม ดังนั้นผลกระทบของการขุดอุโมงค์คู่ที่มีต่อเสาเข็มที่มีอยู่เดิมนั้นควรถูกพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนมากนั้นจะพิจารณาเฉพาะอิทธิพลของตำแหน่งสัมพัทธ์ระหว่างอุโมงค์และเข็ม แต่ผลกระทบที่สำคัญของระยะห่างระหว่างหน้าอุโมงค์คู่ต่อการเคลื่อนตัวของดินกลับไม่เคยถูกนำมาพิจารณา ในการการศึกษาครั้งนี้การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติถูกนำมาใช้สำหรับวิเคราะห์อิทธิพลของอุโมงค์คู่แบบด้านต่อด้านต่อพฤติกรรมของเสาเข็มเดี่ยวที่มีอยู่เดิม สำหรับขั้นตอกการทำไฟไนต์เอลิเมนต์ และ พารามิเตอร์ของดินจะถูกนำมาสอบเทียบกับการขุดอุโมงค์ของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพสายสีน้ำเงิน เพื่อที่จะเข้าใจอิทธิพลของระยะห่างระหว่างผิวหน้าของการขุดอุโมงค์คู่ต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม 5 ระยะห่างที่แตกต่างกันถูกนำมาใช้เป็นกรณีศึกษา (อาทิ 0Ls, 1Ls, 3Ls, 5Ls, และ 8Ls เมื่อ Ls คือความยาวของตัวหัวขุด) ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าระยะห่างระหว่างผิวหน้าของการขุดอุโมงค์คู่ไม่เพียงส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสียรูปของดินแต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิมด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24