การประเมินพฤติกรรมแผ่นคอนกรีตดาดหน้าของเขื่อนหินถมสูงด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
คำสำคัญ:
เขื่อนหินถมคอนกรีตดาดหน้า, การวิเคราะห์เชิงตัวเลข, วัสดุหินถม, แบบจำลองรอยต่อบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์พฤติกรรมแผ่นคอนกรีตดาดหน้าของเขื่อนหินถมสูงด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำเข้าสู่เขื่อนขึ้นอยู่กับแผ่นคอนกรีตดาดหน้าซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ติดตั้งอยู่บริเวณผิวหน้าของเขื่อนในทิศทางต้นน้ำ แม้ว่าพฤติกรรมของแผ่นคอนกรีตจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่มีการศึกษาเพียงเล็กน้อยที่ตรวจสอบผลวิเคราะห์ด้วยข้อมูลที่ติดตั้งภายในเขื่อนและส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การเสียรูปของแผ่นคอนกรีต การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของแผ่นคอนกรีตดาดหน้าประกอบด้วยการเคลื่อนตัวบริเวณรอยต่อ การเสียรูปของแผ่นคอนกรีตและความเค้นในแผ่นคอนกรีต ช่วงระหว่างการก่อสร้างและการเติมน้ำเข้าสู่เขื่อน แบบจำลอง 3 มิติของเขื่อนน้ำงึม 2 ถูกจำลองตามข้อมูลการตรวจวัด ประสิทธิภาพของแบบจำลองรอยต่อแบบ 3 มิติได้รับการตรวจสอบโดยเปรียบเทียบผลตรวจวัดจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในโครงสร้างเขื่อนและผลวิเคราะห์จากวิธีเชิงตัวเลข งานวิจัยแสดงให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาแบบจำลองปฏิสัมพันธ์ของแผ่นคอนกรีตที่มีผลต่อการประเมินความปลอดภัยของเขื่อน ผลการวิเคราะห์อาจเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับวิศวกรผู้ออกแบบเขื่อนในอนาคต
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์