การศึกษาความเร็วในการใช้ทางข้ามถนนของผู้เดินเท้าในเขตกรุงเทพมหานคร

กรณีศึกษา ถนน 4 ช่องจราจร

ผู้แต่ง

  • พรเทพ พวงประโคน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ณัฐภรณ์ กลั่นอ่ำ
  • วลัยรัตน์ บุญไทย

คำสำคัญ:

คนเดินเท้า, ทางข้ามถนน, ความเร็วในการข้ามถนน, ทางม้าลาย, พฤติกรรมของผู้เดินเท้า

บทคัดย่อ

ผู้เดินเท้าเป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งในระบบจราจร โดยทั่วไปสามารถพบเห็นผู้เดินเท้าได้เป็นจำนวนมากในพื้นที่เขตเมือง ถึงแม้ในภาพรวมจำนวนผู้เดินเท้าจะมีไม่มากเมื่อเทียบกับผู้ใช้ถนนกลุ่มอื่นๆ แต่ผู้เดินเท้าจัดเป็นกลุ่มผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงสูง อุบัติเหตุที่เกิดกับผู้เดินเท้ามักจะก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายรุนแรง ดังนั้นการจัดให้มีทางข้ามถนนที่เหมาะสมจะช่วยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุอันอาจเกิดแก่ผู้เดินเท้าได้ บทความนี้ทำการศึกษาความเร็วในการข้ามถนนของผู้เดินเท้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบทางข้ามถนน โดยพื้นที่ศึกษาประกอบด้วยทางข้ามบนถนนขนาด 4 ช่องจราจร จำนวน 4 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นทางข้ามที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยก 2 แห่ง และอยู่ระหว่างช่วงถนน 2 แห่ง เป็นทางข้ามที่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2 แห่ง และไม่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลผู้เดินเท้าที่ใช้ทางข้ามถนนทั้งในและนอกช่วงชั่วโมงเร่งด่วนโดยใช้การบันทึกวีดีโอจำนวน 848 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความเร็วในการข้ามถนนของกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามเพศ ช่วงอายุ และลักษณะการข้ามคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม โดยผลจากการศึกษาจะสามารถนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงทางข้ามให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคตได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

พวงประโคน พ., กลั่นอ่ำ ณ., & บุญไทย ว. (2021). การศึกษาความเร็วในการใช้ทางข้ามถนนของผู้เดินเท้าในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ถนน 4 ช่องจราจร. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, TRL-04. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1008

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##