การศึกษาวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ

  • วลัยรัตน์ บุญไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • รัชเวช หาญชูวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ธนัท นกเอี้ยงทอง
  • ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น
คำสำคัญ: ความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝน, วิธี Double Mass Curve, ลุ่มน้ำและจำนวนสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติด้วยวิธี Double mass curve ร่วมกับการพิจารณาลุ่มน้ำและจำนวนสถานีข้างเคียงที่นำมาใช้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถานีที่ต้องการตรวจสอบ ในการศึกษาพิจารณาใช้สถานีโทรมาตรข้างเคียงที่ตั้งอยู่ภายในรัศมี 50 กม. ที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุด โดยแบ่งเป็น 5 กรณีศึกษาดังนี้ 1) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดเพียง 1 สถานี 2) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันเพียง 1 สถานี 3) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันในแต่ละ Quadrant มา 1 สถานี 4) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันหรือไม่ก็ได้ในแต่ละ Quadrant มา 1 สถานี และ 5) เลือกสถานีข้างเคียงที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันหรือไม่ก็ได้ในแต่ละ Quadrant มาอย่างน้อย 1 สถานี โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนเมษายน 2563 จำนวน 101 สถานี ผลการศึกษาพบว่าการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลปริมาณน้ำฝนด้วยวิธี Double mass curve โดยใช้สถานีโทรมาตรอัตโนมัติที่ตั้งอยู่ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร ที่ใกล้สถานีที่ตรวจสอบที่สุดและอยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันหรือไม่ก็ได้ในแต่ละ Quadrant มาอย่างน้อย 1 สถานี ให้ความพร้องกันของข้อมูลปริมาณน้ำฝนของสถานีที่ต้องการตรวจสอบกับสถานีข้างเคียงมากกว่ากรณีอื่นๆ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้