การศึกษาความเร็วในการใช้ทางข้ามถนนของผู้เดินเท้าในเขตกรุงเทพมหานคร
กรณีศึกษา ถนน 4 ช่องจราจร
บทคัดย่อ
ผู้เดินเท้าเป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งในระบบจราจร โดยทั่วไปสามารถพบเห็นผู้เดินเท้าได้เป็นจำนวนมากในพื้นที่เขตเมือง ถึงแม้ในภาพรวมจำนวนผู้เดินเท้าจะมีไม่มากเมื่อเทียบกับผู้ใช้ถนนกลุ่มอื่นๆ แต่ผู้เดินเท้าจัดเป็นกลุ่มผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงสูง อุบัติเหตุที่เกิดกับผู้เดินเท้ามักจะก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายรุนแรง ดังนั้นการจัดให้มีทางข้ามถนนที่เหมาะสมจะช่วยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุอันอาจเกิดแก่ผู้เดินเท้าได้ บทความนี้ทำการศึกษาความเร็วในการข้ามถนนของผู้เดินเท้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบทางข้ามถนน โดยพื้นที่ศึกษาประกอบด้วยทางข้ามบนถนนขนาด 4 ช่องจราจร จำนวน 4 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นทางข้ามที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยก 2 แห่ง และอยู่ระหว่างช่วงถนน 2 แห่ง เป็นทางข้ามที่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2 แห่ง และไม่มีสัญญาณไฟคนข้าม 2 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลผู้เดินเท้าที่ใช้ทางข้ามถนนทั้งในและนอกช่วงชั่วโมงเร่งด่วนโดยใช้การบันทึกวีดีโอจำนวน 848 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความเร็วในการข้ามถนนของกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามเพศ ช่วงอายุ และลักษณะการข้ามคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม โดยผลจากการศึกษาจะสามารถนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงทางข้ามให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคตได้
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์