การศึกษาลักษณะกายภาพพื้นที่ของทางหลวงตามรูปแบบถนน เพื่อสร้างแบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุ

  • ภัทรพล สีดอกบวบ สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง
คำสำคัญ: เกาะกลางแบบยก, เกาะกลางแบบกดเป็นร่อง, เกาะกลางแบบเกาะสี, เกาะกลางถนนแบบเป็นราวหรือกำแพงกั้น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะกายภาพของทางหลวงตามรูปแบบถนน ที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุบนถนน และสร้างแบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวง  หากมีการเลือกชนิดของลักษณะกายภาพของทางหลวงตามรูปแบบถนนที่แตกต่างกัน โดยแบ่งลักษณะกายภาพของทางหลวงตามรูปแบบถนนไว้ 4 รูปแบบ และตั้งสมมุติฐานตัวแปรที่อาจมีผลต่อจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนถนนตามลักษณะทางกายภาพของถนนที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ 36 ปัจจัย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่1 ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางแบบยก มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 18 ปัจจัย รูปแบบที่2 คือ ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 18 ปัจจัย รูปแบบที่3 คือ ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางแบบเกาะสี มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 6 ปัจจัย และรูปแบบที่4 ลักษณะทางหลวงแบบประเภทเกาะกลางถนนแบบเป็นราวหรือกำแพงกั้น มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุถึง 5 ปัจจัย ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง และผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผล ซึ่งได้แบบจำลองที่มีตัวแปรที่เหมาะสมที่สุด เพื่อสร้างแบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวง พบว่า รูปแบบที่1 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = - 6.273 + 0.317สัดส่วนรถบรรทุกหนัก – 1.062จำนวนทางแยกในช่วงถนนที่สำรวจ +1.627มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ของสถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ - 0.026สัดส่วนรถจักรยานยนต์ + 0.458ความลาดชันของถนนที่สำรวจ + 0.508ความกว้างของเกาะกลาง  รูปแบบที่2 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = 2.168 + 0.621ความกว้างของเกาะกลาง – 0.063สัดส่วนของยอดยานที่ใช้ความเร็วเกินความเร็วจำกัด – 0.054สัดส่วนรถจักรยานยนต์ รูปแบบที่3 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = 0.385 +1.264การใช้หรือไม่มีการประโยชน์พื้นที่ของสถานีคมนาคมและขนส่ง + 0.507เป็นลักษณะของพื้นที่ในเมือง + 0.104ความกว้างของเกาะกลาง – 0.12สัดส่วนรถบรรทุกหนัก และรูปแบบที่4 ได้แบบจำลองคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุของทางหลวงคือ จำนวนอุบัติเหตุ(Y) = 0.773 + 2.623ระยะห่างระหว่างช่องจราจรด้านขวากับเกาะกลาง ซึ่งเป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการศึกษานี้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] โครงการศึกษาความเร็วปลอดภัยบนทางหลวง เพื่อการกำหนดความเร็วที่เหมาะสม. สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง, ตุลาคม 2560
[2] DESIGN GUIDELINE ประเภทของเกาะกลางถนน (Road Medians) และการออกแบบรูปตัดงานขยายทางหลวง (Road Widening). สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง, มีนาคม 2554
[3] ชัยยุทธ์ ศรีสุด. (2557). การประเมินความปลอดภัยของโครงการปรับปรุงเกาะกลางถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงหมายเลข 407 ตอน คลองหวะ - สงขลา กม.16+600 ถึง กม. 21+000. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19
[4] คู่มือปรับปรุงกายภาพ ทางหลวงท้องถิ่นในเขตเมือง.กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม. 2555
[5] วิชญะ ส่องแสง พัชรพรรณ นันทวิสิทธิ์ และ ปรีดา พิชยาพันธ์. (2555). การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของถนนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. 5st ATRANS SYMPOSIUM
[6] ชัยยุทธ์ ศรีสุด. (2557). การประเมินความปลอดภัยของโครงการปรับปรุงเกาะกลางถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงหมายเลข 407 ตอน คลองหวะ - สงขลา กม.16+600 ถึง กม. 21+000. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19
[7] วุฒิพงษ์ ธรรมศรี และ ประสิทธ์ จึงสงวนพรสุข. (2556). การบ่งชี้จุดอันตรายบนทางหลวงในประเทศไทยด้วยวิธีอัตราการเกิดอุบัติเหตุวิกฤต. KKU Res J (GS), 11(3).
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้