ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเอง โดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต

ผู้แต่ง

  • วนาลี ภานุพรประพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภีม เหนือคลอง หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิชชา จองวิวัฒสกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี
  • สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเอง, กำลังรับแรงอัดประลัย, ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตก, สปอร์ของแบคทีเรีย, เอ็มไอซีพี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเองของมอร์ตาร์ที่ผสมไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยห่อหุ้มสปอร์ของแบคทีเรียด้วยโซเดียมอัลจิเนตเพื่อให้สปอร์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการขึ้นรูปมอร์ตาร์ได้ ปริมาณไมโครแคปซูลที่เลือกใช้ในการศึกษา คือ     ร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ จากการศึกษาพบว่า
ไมโครแคปซูลส่งผลให้อัตราการซ่อมแซมรอยแตกเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ที่มีปริมาณไมโครแคปซูลร้อยละ 1.0 สามารถซ่อมแซมรอยแตกได้สมบูรณ์ภายใน 7 วัน นอกจากนี้งานวิจัยยังศึกษาผลของปริมาณไมโครแคปซูลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ จากผลการทดสอบพบว่าปริมาณไมโครแคปซูลไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน
ของมอร์ตาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารอาหารสำหรับแบคทีเรียลงในมอร์ตาร์จะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07

วิธีการอ้างอิง

[1]
ภานุพรประพงศ์ ว. และคณะ 2020. ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเอง โดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), MAT01.