การพัฒนาชุดฝึกทักษะออนไลน์ เรื่อง ระบบแรงและการสมดุล สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา มทร.ศรีวิชัย

  • จุฑามาศ ลักษณะกิจ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย
  • จำรูญ สมบูรณ์
  • นฤมล แสงดวงแข
คำสำคัญ: ชุดฝึกทักษะ, ออนไลน์, ระบบแรงและการสมดุล, วิศวกรรมโยธา, มทร.ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะอิเลกทรอนิกส์ออนไลน์ เรื่อง ระบบแรงและการสมดุล รายวิชา รหัสวิชา 04-411-101 ชื่อวิชา กลศาสตร์วิศวกรรม 1  เพื่อศึกษาและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 1 และ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 27 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1) แบบทดสอบก่อนเรียน 2) แบบทดสอบหลังเรียน และ 3) ชุดฝึกทักษะอิเลกทรอนิกส์ออนไลน์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ  คะแนนค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test dependent ผลการศึกษาพบว่า
1) ชุดฝึกทักษะฯ ที่พัฒนาขึ้น มีรูปแบบให้นักศึกษาเลือกคำตอบ (Selection Type) แบบจับคู่ (Matching) จำนวน 40 ข้อ  2) ชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.6/63.0 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 เฉพาะตัวแรกที่กำหนดไว้  3) กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  แต่ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติ  และ  4) กลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติ  แต่ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] พรธณา เจือจารย์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การใช้เครื่องมือโปรแกรม Microsoft Word 2016 วิชาคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ , กรุงเทพฯ.
[2] สุรศักดิ์ ลิ้มวีระประจักษ์. (2559). ชุดฝึกทักษะการประมาณการขันอัดแป้นเกลียวและสลักเกลียว. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 123-131.
[3] สุระไกร เทพเดช, สมาน เอกพิมพ์, และ สมบัติ ฤทธิเดช. (2558). การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง การใช้มัลลิมิเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. วารสารการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน, หน้า 174-182.
[4] สุชาดา เกตุดี, จรัญ แสนราช, และ ทิวาพร เทศสวัสดิ์วงศ์. (2559). นวัตกรรมโปรแกรมฝึกทักษะการวินิจฉัยโรคด้วยการแปลผลภาพทางจุลพยาธิวิทยาของนักศึกษาแพทย์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 142-150.
[5] นุชนารถ ผ่องพุฒิ. (2558). การศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้กับความเป็นครูสำหรับผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุดสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 97-106.
[6] นันทน์ธร บรรจงปรุ, พัชรี ปรีดาสุริยะชัย, และ ขวัญคณิฐ แซ่อึ้ง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุทธิปริทัศน์, ปีที่ 31, ฉบับที่ 99, หน้า 16-27.
[7] อินทิรา รอบรู้. (2559). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อสาธิตการใช้โปรแกรมประยุกต์เรื่องการผลิตสื่อเสียง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, , ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 250-258.
[8] กิตติศักดิ์ นิวรัตน์. (2554). การประมาณค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโมเดลคะแนนจริงสัมพันธ์และโมเดลโลจีสติก 3 พารามิเตอร์. กรุงเทพฯ.
[9] กัลยาณี หนูพัด. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชั่นลอการิทึม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา, ประเทศไทย.
[10] กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ . (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรป ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ.
[11] มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง พลังงานรอบตัวเรา. กรุงเทพฯ.
[12] Hibbeler, R. (2013). Engineering Mechanics: STATICS (13 ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
[13] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-06
How to Cite
[1]
ลักษณะกิจจ., สมบูรณ์จ. และ แสงดวงแขน. 2020. การพัฒนาชุดฝึกทักษะออนไลน์ เรื่อง ระบบแรงและการสมดุล สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา มทร.ศรีวิชัย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEE07.