จีโอโพลิเมอร์บล๊อกปูพื้นจากเถ้าถ่านหินและเถ้าปาล์มน้ำมัน

  • รัฐพล สมนา
  • ประชุม คำพุฒ
  • ธีรพล เสาวพันธ์
  • เกียรติสุดา สมนา สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คำสำคัญ: เถ้าปาล์มน้ำมัน, กำลังอัด, จีโอโพลิเมอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการทดลองผลิตจีโอโพลิเมอร์บล๊อคปูพื้นจากเถ้าถ่านหินและเถ้าปาล์มน้ำมัน โดยปรับปรุงคุณภาพเถ้าปาล์มน้ำมันด้วยการบดแบบควบคุมเวลาที่ 15 นาที ใช้อัตราส่วนเถ้าถ่านหินต่อเถ้าปาล์มน้ำมันในอัตราส่วน 90:10 80:20 70:30 60:40 50:50 และ 40:60 โดยน้ำหนัก ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 14 โมลาร์ แล้วนำไปทดสอบกำลังรับแรงอัดที่อายุการบ่ม 7 14 28 และ 60 วัน และเลือกส่วนผสมที่ใช้ให้ค่ากำลังอัดในช่วง 20 – 40 กก./ตร.ซม. และใช้ปริมาณเถ้าปาล์มน้ำมันมากที่สุด เพื่อผลิตจีโอโพลิเมอร์บล๊อกทางเท้าที่มีอัตราส่วนวัสดุประสานต่อหินฝุ่น เท่ากับ 1:3 1:5 และ 1:7 โดยน้ำหนัก อัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดบล๊อคให้มีขนาด 30x30x5 ซม. ทดสอบกำลังอัดและค่าการดูดซึมน้ำของจีโอโพลิเมอร์บล๊อกปูพื้น พบว่า เถ้าปาล์มน้ำมันสามารถแทนที่เถ้าถ่านหินได้ถึงร้อยละ 50 มีค่ากำลังอัดที่อายุ 7 วัน เท่ากับ 21 กก./ตร.ซม. และเมื่อทดสอบสมบัติของบล๊อคจีโอโพลิเมอร์ปูทางเท้า พบว่า อัตราส่วนวัสดุประสานต่อหินฝุ่น เท่ากับ 1:5 โดยน้ำหนักให้ค่ากำลังอัดสูงที่สุด เท่ากับ 273 และ 438 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 7 และ 28 วัน ตามลำดับ และมีค่าการดูดกลืนน้ำต่ำที่สุด เท่ากับร้อยละ 11.7 ที่อายุ 28 วัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] Davidovits, J. (2008). Geopolymer Chemistry and Applications (2nd ed.), Saint- Quentin, FR: Geopolymer Institute, France, 585 p.
[2] Kiatsuda Somna, Chai Jaturapitakkul, Puangrat Kajitvichyanukul, Prinya Chindaprasirt (2011) NaOH-activated ground fly ash geopolymer cured at ambient temperature, Fuel, Vol. 90, pp. 2118–2124.
[3] Weerachart Tangchirapat, Supat Khamklai, Chai Jaturapitakkul. (2012) Use of ground palm oil fuel ash to improve strength, sulfate resistance, and water permeability of concrete containing high amount of recycled concrete aggregates Materials & Design, 41, pp 150-157.
[4] วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, จตุพล ตั้งปกาศิต, ศักดิ์สินธุ์ แววคุ้ม และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล (2546) วัสดุปอซโซลานชนิดใหม่จากเถ้าปาล์มน้ำมัน, วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 26, ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม, หน้า 459-474.
[5] ASTM C618-08a, 2010. “Standard Specification for Coal Fly Ash and Raw or Calcined Natural Pozzolan for Use Mineral Admixture in Portland Cement Concrete.” Annual Book ASTM Standard. Pennsylvania (USA), ASTM International, 4 p.
[6] S. Alehyen, M. EL Achouri, M. Taibi (2017) Characterization, microstructure and properties of fly ash-based geopolymer Journal of Materials and Environmental Sciences, 8(5), pp 1783-1796.
[7] S.K. Nath and S Kumar (2020) Role of particle fineness on engineering properties and microstructure offly ash derived geopolymer Construction and Building Materials 233, pp 117294.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้