การศึกษาผลกระทบของโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ในพื้นที่เขตลาดกระบัง
คำสำคัญ:
รถไฟทางคู่, ผลกระทบจากการก่อสร้าง, โครงการขนาดใหญ่บทคัดย่อ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา เป็นส่วนหนึ่งของแผนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงการเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับโครงการในอนาคต กลุ่มประชากร คือผู้อยู่อาศัยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ช่วงแนวเส้นทางที่มีการก่อสร้างโครงการ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในเขตลาดกระบัง ที่อยู่ห่างจากตัวโครงการภายในรัศมี 1 กิโลเมตร การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีของ Taro Yamane โดยใช้วิธีกำหนดตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) กำหนดความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมให้เกิดระหว่างค่าจริงและค่าประมาณการร้อยละ 5 ได้จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูป SPSS (statistical package for the social sciences) จากการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับทัศนคติที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ตามแนวเส้นทางของโครงการอยู่ในระดับ “มาก” (จาก 5 ระดับ น้อยมาก น้อย ปานกลาง มากและมากที่สุด) และจากระดับทัศนคติต่อผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับในด้านปัญหาด้านมลภาวะมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงควรมีวิธีการในการบรรเทาปัญหาด้านมลภาวะที่จะเกิดขึ้นเมื่อดำเนินโครงการแก่ผู้อยู่อาศัยโดยรอบและผู้ที่สัญจรผ่านบริเวณโครงการ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์