การประเมินค่าความสูงออร์โทเมตริกจากข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ ด้วยโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ จินดาศรี ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและดิจิทัล สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
  • พัชราวดี จิตสุทธิ

คำสำคัญ:

แบบจำลองความสูง, ยีออยด์, สถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

ในการศึกษานี้ มุ่งหมายเพื่อประเมินความถูกต้องของค่าความสูงออร์โทเมตริกที่ได้จากการรังวัดค่าความสูงอิลิปซอยด์ ด้วยระบบดาวเทียมนำทาง (GNSS) โดยใช้ข้อมูลจากโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง (GNSS CORS network หรือ NRTK) ร่วมกับข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ต่างชนิด ได้แก่ แบบจำลองท้องถิ่น (TGM2017) และแบบจำลองสากล (EGM2008, EGM96) และทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของค่าความสูงออร์โทเมตริกจากแบบจำลองความสูงแต่ละชนิด กับข้อมูลความสูงจากงานระดับชั้นที่ 1 ของกรมแผนที่ทหาร โดยใช้พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นพื้นที่ศึกษาด้วยการรังวัดแบบจลน์ แนวคิด  (Virtual Reference Station: VRS) จากการศึกษาพบว่าค่าความสูงออร์โทเมตริกที่ได้จากการรังวัดโดยใช้แบบจำลองความสูงที่ต่างชนิดกัน เทียบกับค่าความสูงหมุดระดับชั้นที่ 1นั้น ข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ TGM2017 EGM2008 และ EGM96 มีค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (RMSE) 0.030 เมตร, 0.841 เมตร และ 0.933 เมตร ตามลำดับ โดยแบบจำลองความสูงยีออยด์ท้องถิ่น TGM2017 นั้น ให้ค่าความถูกต้องที่ดีกว่าแบบจำลองความสูงสากล ดังนั้น การใช้โครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่องร่วมกับแบบจำลองความสูงยีออยด์ท้องถิ่น จะเป็นทางเลือกสำหรับงานสำรวจหาค่าระดับความสูงของภูมิประเทศที่มีความแม่นยำและยังสามารถลดระยะเวลาในการสำรวจเทียบค่าระดับน้ำทะเลปานกลางเช่นกัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

พุทธิพล ดำรงชัยและชัยวัฒน์ พรมทอง. (2560). การพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทย. วารสารแผนที่ ฉบับที่ 1 ปีที่ 37, กรมแผนที่ทหาร, มกราคม – มิถุนายน 2560, หน้า 23-35.

รุ่งโรจน์ เจริญยศ ธีทัต เจริญกาลัญญูตา และเฉลิมชนม์ สถิระพจน์ (2562). การประเมินผลความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบของการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ โดยใช้สถานีฐานอ้างอิงแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร สำหรับการรังวัดแปลงที่ดินในประเทศไทย. วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ, ISSN 1513-4261, 28 สิงหาคม 2562, หน้า 89-100.

Janssen V. (2009). A comparison of the VRS and MAC principles for network RTK. paper presented at the IGNSS 2009 Symposium, 1-3 December 2009. Australia.

ธีรทัต เจริญกาลัญญูตา และเฉลิมชนม์ สถิระพจน์. (2552). การประเมินค่าความถูกต้องจากการรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยระบบเครือข่ายสถานีฐานจีพีเอสระบบแรกในประเทศไทย ผลการทดสอบเบื้องต้น. วิศวกรรมสาร มก. ฉบับที่ 70 ปีที่ 22, พฤศจิกายน 2552 - มกราคม 2553, หน้า 45-56.

สมเกียรติ ทิพย์สุมณฑา และเฉลิมชนม์ สถิระพจน์. (2561). การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดดาวเทียมแบบจลน์โดยอาศัยเครือข่ายสถานี GNSS แบบต่างๆ ในประเทศไทย. การประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (GEOINFOTECH 2018), กรุงเทพมหานคร, 1-2 กุมภาพันธ์ 2561, หน้า 69.

พุทธิพล ดำรงชัยและคณะ. (2552). การคำนวณหาจีออยด์บริเวณประเทศไทยขั้นต้น. วิศวกรรมสาร มก., ISSN 1685-9317, ปีที่ 22, ฉบับที่ 67, ก.พ.-เม.ย. 2552, หน้า 29-41

P.Dumrongchai and N. Duangdee (2019). EVALUATION OF TGM2017 FOR HEIGHT SYSTEM USING GNSS/LEVELING DATA IN THAILAND. International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies. Volume 10 No.10

Charoenkalunyuta, T., Satirapod, C., Lee, H. and Choi, Y. (2012). COMPARISON BETWEEN ABSOLUTE AND RELATIVE POSITIONAL ACCURACY ASSESSMENT - A CASE STUDY APPLIED TO DIGITAL ELEVATION MODELS, Bulletin of Geodetic Sciences, 25(1): e2019003, 2019.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
จินดาศรี พ. และ จิตสุทธิ พ. 2020. การประเมินค่าความสูงออร์โทเมตริกจากข้อมูลแบบจำลองความสูงยีออยด์ ด้วยโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI17.