กำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าชานอ้อย

ผู้แต่ง

  • วีรวัฒน์ ดีสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ชยกฤต เพชรช่วย
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
  • จักษดา ธำรงวุฒิ

คำสำคัญ:

ดินเหนียวอ่อน, เถ้าชานอ้อย, กำลังอัดแกนเดียว, จีโอโพลิเมอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพปรับปรุงด้วยเถ้าชานอ้อยจีโอโพลิเมอร์ที่แปรผันตัวแปรต่าง ๆ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการใช้ปรับปรุงดินเหนียวอ่อนทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ เถ้าชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่ได้มาจากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งถูกนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของจีโอโพลิเมอร์ สารอัลคาไลน์ที่ใช้ได้มาจากโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารอัลคาไลน์ และความเข้มข้นของ      โซเดียมไฮดรอกไซด์ ใช้ปริมาณความชื้นของดินที่พิกัดเหลวของดิน และใช้ปริมาณเถ้าชานอ้อยที่ร้อยละ 30 ที่อายุบ่มต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียวที่อายุบ่ม 28 วัน มีค่าสูงสุดที่อัตราส่วนโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อโซเดียมซิลิเกตที่ 60:40 ปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ 7.5 โมลาร์ ปริมาณเถ้าชานอ้อยที่ร้อยละ 30 ของน้ำหนักดินแห้ง และปริมาณความชื้นของดินที่ขีดจำกัดเหลว

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##