การหาค่าระดับความสูงแนวคันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตกโดยเทคโนโลยี MMS สำหรับการบริหารจัดการน้ำ

การหาค่าระดับความสูงแนวคันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตกโดยเทคโนโลยี MMS สำหรับการบริหารจัดการน้ำ

  • อำนาจ สมภาร ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและดิจิทัล สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน)
  • ปานฤทัย ตั้งประเสริฐ
  • ณัฐกิตติ์ เสงี่ยม
คำสำคัญ: Mobile Mapping System, Continuously Operating Reference Stations: Core, Real Time Kinematic, Laser Scanner, Dual Antenna, Inertial Measuring Unit

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสำรวจได้มีการพัฒนาไปจากเดิมมาก สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวข้อหลักของการการพัฒนาคือความรวดเร็วของการได้มาซึ่งข้อมูลสำรวจ ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน.ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจ Mobile Mapping System (MMS) สำหรับใช้สำรวจหาค่าระดับและจัดทำแผนที่แบบ 3 มิติ ในงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการประยุกต์ใช้ MMS ใช้กับการบริหารจัดการน้ำโดยการหาความเหมาะสมและข้อจำกัดของระบบเพื่อจะได้นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการได้กำหนดพื้นที่ทำการสำรวจคือแนวคันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตกเพื่อเปรียบเทียบผลของระบบ MMS กับการตรวจวัดแบบ Real Time Kinematic (RTK) พื้นที่ทดสอบ 14 กิโลเมตร จากการดำเนินการพบว่าผลลัพธ์การสำรวจของทั้งสองระบบมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน เวลาที่ใช้ในการสำรวจพบว่าการสำรวจด้วย MMS ใช้เวลาน้อยกว่าการสำรวจแบบ RTK 12 เท่า การสำรวจทั้ง 2 แบบมีค่า RMSE 0.386 ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่เข้าใกล้ศูนย์แสดงถึงมีความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตามกัน การนำระบบสำรวจ MMS ไปใช้งานในการหาค่าระดับจึงเป็นระบบที่ให้ผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วทันต่อการที่จะนำข้อมูลค่าระดับมาทำการวิเคราะห์เพื่อบริการจัดการน้ำอย่างเร่งด่วนได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] H, Jinga N, Slatcher X, Meng G, Huntera. (2016). Monitoring Capabilities of a Mobile Mapping System Based on Navigation Qualities. The International Archives of the Photogrammetry, Prague, Czech Republic, 12-19 July 2016, pp. 12–19.
[2] Zhongchao. S, Advanced Mobile Mapping System Development with Integration of Laser Data Stereo Images and other Sensor Data. Faculty of Environmental and Information Studies, Musashi Institute of Technology, pp.24-31.
[3] Nivedita, S. (2016). Development of a Mobile Mapping System for Road Corridor Mapping, Ph.D Sudhagar N, Florida Atlantic University, Boca Raton.
[4] El-Sheimy, N. (1996). The Development of VISAT-A Mobile Survey System for GIS Applications. University of Calgary, Calgary, Canada. pp.19-22.
[5] Byungyun. Y, (2019). Developing a Mobile Mapping System for 3D GIS and Smart City Planning, Sustainability 2019, 11, 3713, 7 July 2019.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
สมภารอ., ตั้งประเสริฐ ป. และ เสงี่ยม ณ. 2020. การหาค่าระดับความสูงแนวคันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตกโดยเทคโนโลยี MMS สำหรับการบริหารจัดการน้ำ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI23.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์