การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมชั้นรองพื้นทาง

ผู้แต่ง

  • ปณิธาน เต็งยะ
  • พิชชาภรณ์ พัฒนศุภสุนทร
  • ภูวดล พรหมชา 3 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

คำสำคัญ:

วัสดุชั้นรองพื้นทาง, ดินลูกรัง, , เฟลด์สปาร์, วัสดุเหลือใช้, CBR

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำวัสดุเหลือใช้จากการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ (BF) มาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสม เพื่อทดแทนการใช้ดินลูกรังในชั้นรองพื้นทาง ในการศึกษานี้ได้กำหนดอัตราส่วนผสมซึ่งมีดินลูกรัง (S) เป็นวัสดุตั้งต้น แล้วแทนที่ด้วยวัสดุที่เหลือใช้จากการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ (BF) ตามอัตราส่วนผสมร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80, 90 และ 100 โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานสำหรับใช้เป็นวัสดุชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง จากการศึกษาพบว่า ทุกอัตราส่วนผสมผ่านเกณฑ์มาตรฐานสำหรับใช้เป็นวัสดุชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ยกเว้นอัตราส่วนผสมร้อยละ 100  ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาค่า CBR แบบแช่น้ำในแต่ละอัตราส่วนผสมที่ผ่านเกณฑ์ พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อแทนที่วัสดุเหลือใช้จากการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ในอัตราส่วนผสมร้อยละ 10-40 แต่กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อแทนที่ในอัตราส่วนผสมร้อยละ 50-90 โดยอัตราส่วนผสมร้อยละ 80 ให้ค่า CBR สูงสุด ที่ร้อยละ 81 เหมาะสมและสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทดแทนชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐานวัสดุรองพื้นทางมากที่สุด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07

วิธีการอ้างอิง

[1]
เต็งยะ ป. และคณะ 2020. การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการแต่งแร่เฟลด์สปาร์ เพื่อทดแทนวัสดุมวลรวมชั้นรองพื้นทาง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), MAT25.