ค่าสัมประสิทธิ์ผลตอบสนองแรงแผ่นดินไหวในทุกอำเภอของอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61)
คำสำคัญ:
แรงแผ่นดินไหว, กฎกระทรวง พ.ศ. 2550, สัมประสิทธิ์ผลตอบสนองแรงแผ่นดินไหว, มยผ.1301/1302-61บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอแนวทางการคำนวณโดยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ. 1301/1302-61) เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์แรงแผ่นดินไหว (Cs) 926 อำเภอทั่วประเทศสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นหรืออ้างอิงสำหรับการออกแบบ โดยกำหนดข้อมูลเป็นอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น คำนวณที่ความสูง 6 เมตรและอาคารสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั้น คำนวณที่ความสูง 50 เมตร ความสำคัญอาคารแบ่งเป็นน้อย ปกติ สูงและสูงมาก ระบบโครงสร้างที่ใช้ประกอบด้วย โครงต้านแรงดัดเหล็กความเหนียวธรรมดา เหนียวปานกลาง และเหนียวพิเศษ ผลที่ได้คือค่า Cs ของ 925 อำเภอ ประเภทการออกแบบ ระบบโครงสร้างที่อนุญาตหรือห้ามใช้ และนำมาสรุปเป็นภาพรวมบริเวณที่จะต้องออกแบบอาคารต้านทานแรงแผ่นดินไหวในแต่ละภูมิภาคซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวง พ.ศ. 2550 เป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องให้มีความง่ายในการนำไปใช้งานต่อไป
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
กรมโยธาธิการและผังเมือง. มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ. 1301/1302-61). ดิจิตอล ออฟเซต เอเชีย แปซิฟิค, 2561
DON_1302 เวอร์ชัน 1.01 ซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว วิธีแรงสถิตเทียบเท่า ตามมยผ. 1301/1302-61 พัฒนาโดย สรกานต์ ศรีตองอ่อน, ณพงค์ โรจนอุดมพร, พรรณระพี ประสงค์กูล, ศุภชัย สุทธิธรรมพานิช และสารัช คงชยะนันท์.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์