การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทาง ในพื้นที่ศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

  • พงษ์พิษณุ นาคคำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กิตติชัย ธนทรัพย์สิน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: การเลือกรูปแบบการเดินทาง, แบบจำลองซ้อนสัมพันธ์โลจิต, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มีหลากหลายรูปแบบในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย การเดินทางอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การเดินทางที่ได้ออกกำลังกาย (Active travel) และการเดินทางที่ไม่ได้ออกกำลังกาย (Non-active travel) ตัวอย่างการเดินทางที่ได้ออกกำลังกาย เช่น การเดิน และการปั่นจักรยาน การเลือกรูปแบบการเดินทางของนักศึกษาและบุคลากร โดยการเลือกรูปแบบการเดินทางแบ่งเป็น 6 ทางเลือก ได้แก่ รถรางสวัสดิการ รถจักรยาน รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์ส่วนบุคคล และการเดิน จากข้อมูลการสำรวจของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับคุณลักษณะการเดินทาง
และข้อมูลด้านทัศนคติ ความพึงพอใจ จำนวนทั้งสิ้น 923 คน พบว่า รูปแบบการเดินทางที่ถูกเลือกใช้ในการเดินทางเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้ดังนี้ รถรางสวัสดิการ การเดิน รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยาน คิดเป็น 39.7%, 20.8%, 15.7%, 9.4%, 7.4% และ 7.0% ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุดของการเดินทางแบบ Active travel ได้แก่ ความต้องการเดินทางพร้อมทั้งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และวันที่มีสภาพอากาศเย็นสบายไม่ร้อนมากนัก จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของแบบจำลองซ้อนสัมพันธ์โลจิต (Nested Logit Model) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ ระยะทาง, ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ค่าความถูกต้องของการพยากรณ์ของชุดพัฒนาแบบจำลอง และชุดตรวจสอบแบบจำลอง เท่ากับ 83.23 และ 83.15 ตามลำดับ และ ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองที่สร้างขึ้นไปใช้คาดการณ์สัดส่วนการเลือกใช้รูปแบบการเดินทาง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
นาคคำพ. และ ธนทรัพย์สินก. 2020. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทาง ในพื้นที่ศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL42.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์