การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์จากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำตาล

ผู้แต่ง

  • ภานุวัฒน์ โสภณวาณิชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ยิ่งใหญ่ มาลัยเจริญ
  • ชิษณุพงศ์ สุธัมมะ

คำสำคัญ:

คอนกรีตมวลเบา, ความหนาแน่น, กำลังรับแรงอัด, เถ้าชานอ้อย, กากปูนขาว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์ และศึกษากำลังรับแรงอัดและความหนาแน่น โดยใช้เถ้าชานอ้อย และ กากปูนขาวมาแทนที่ซีเมนต์และสามารถนำคอนกรีตมวลเบาที่พัฒนามาจากเถ้าชานอ้อย และ กากปูนขาวมาใช้ในงานก่อสร้าง โดยใช้การเทียบเท่าด้วย มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 ซึ่งมีค่ากำลังรับแรงอัดมากกว่า 25.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และค่าความหนาแน่นมีค่าเท่ากับ 801-900 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในการคำนวณส่วนผสมของเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาวได้ใช้การคำนวณจากสูตรต้นแบบ ที่อัตราส่วนผสมระหว่างปูนต่อทรายที่ 1.00 : 1.00 และส่วนผสมระหว่างน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) 0.50 : 1.00 ที่มีความหนาแน่น และค่าของกำลังรับแรงอัด ใกล้เคียงกับ มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 มากที่สุด ในอายุการบ่ม 7, 14 และ 28 วัน โดยการนำเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาวมาแทนที่ร้อยละ 5 ถึง 35 ในอัตราส่วนผสมของซีเมนต์จากการทดสอบพบว่าการแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยที่มีค่าความหนาแน่นมากที่สุด เมื่อแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยร้อยละ 20 และมีกำลังรับแรงอัดที่ได้มากสุดเมื่อแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยร้อยละ 15 ส่วนการแทนที่ด้วยกากปูนขาวพบว่ามีค่าความหนาแน่นที่มากสุดเมื่อแทนที่ด้วยกากปูนขาวร้อยละ 30 และกำลังรับแรงอัดที่มีมากที่สุดเมื่อแทนที่ด้วยกากปูนขาวร้อยละ 5 เมื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับ มอก.2601-2556 ชั้นคุณภาพ C9 แล้วพบว่า เถ้าชานอ้อยไม่สามารถนำมาแทนที่ซีเมนต์ และคอนกรีตมวลเบาที่แทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยและกากปูนขาว ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ ส่วนกากปูนขาวสามารถนำมาแทนที่ซีเมนต์ได้และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างได้จริงซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ของเหลือจากอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กุลวดี ตรีครุฑพันธุ์ (2543). การจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 ในงานรับเหมาก่อสร้าง กรณีศึกษาบริษัท สยาม ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาบริหารธุรกิจ

สุชา กิตติวรารัตน์ และ ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์ (2555). การจัดการเพื่อลดเศษวัสดุในงานสถาปัตยกรรม. (สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง.

กลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (2561). การผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล, สิงหาคม 2561, หน้า 1

ดิศราภรณ์ ศรีนาค (2557). คอนกรีตผสมเถ้าชานอ้อย, https://sites.google.com/a/email.nu.ac.th/bamboo-architecture/concrete

nucifer. ม.ป.ป. (2557). อิฐมวลเบา: ข้อดีข้อเสียของวิธีการผลิตอิฐมวลเบา แบบ AAC และ CLC. (Online). http://www.nucifer.com /2014/ 12/05/อิฐมวลเบา_aac clcจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาพัฒนาให้ดีขึ้น, 15 เมษายน 2563.

ดศิสกุล อึ้งตระกูล (2557). การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าร์จากกากปูนขาวในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดร.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์, อมเรศ บกสุวรรณ, ดร.หมิง จิ๋ง และ นิติ วิทยาวิโรจน์ (2553). การพัฒนาบล็อกแก้วคอนกรีตมวลเบาโดยการผสมฝุ่นจากเตาเผาปูนขาว-ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วสวัตติ์ เอกพานิช (2555). ปัญหากฎหมายการจัดการฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคาร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2556). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ. มอก. 2601-2556

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-07

วิธีการอ้างอิง