การวิเคราะห์ความหลากหลายของพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางราง เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันครอบคลุมระยะทางกว่า 153 กิโลเมตร ทั้งนี้อิทธิพลของการขนส่งที่มีต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการคาดการณ์ปริมาณการเดินทาง จำนวนประชากร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทราบอย่างถูกต้องของพื้นที่ รวมถึงพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายหรือแตกต่างกันของแต่ละคน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำมาพิจารณาในการคาดการณ์จำนวนประชากรของพื้นที่ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่หลากหลายของคนแต่ละกลุ่มที่มีต่อการเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน (Heterogeneity Preference) เนื่องจากแต่ละคนมี รสนิยม ความชอบหรือความสนใจ Lifestyle ในการเลือกที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยเห็นว่าการวิเคราะห์แบบภาพรวมในลักษณะการเลือกแบบ Homogeneous จึงไม่ถูกต้องมากนัก สำหรับพฤติกรรมของการเลือกในสถานการณ์จริง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบจำลองแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete choice model) สำหรับการวิเคราะห์ โดยในการศึกษาในครั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบ 3 แบบจำลอง คือ แบบจำลอง Multinomial logit (MNL) แบบจำลอง Mixed logit (MMNL) และ แบบจำลอง Latent class (LC) และตรวจสอบระดับความสอดคล้องของแบบจำลอง(Goodness of fit) ด้วยวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์สูงสุด (Maximum likelihood Method) โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้น ได้มาจาการสำรวจจำนวน 2,400 ตัวอย่าง จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อาศัยในเขตจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดสถานการณ์จำลองขึ้น (Stated Preference หรือ SP Survey) ของการเลือกที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ พบว่า พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของแต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์การแบ่งกลุ่มคนที่มีลักษณ์ความชื่นชอบ รสนิยม หรือพฤติกรรมการเลือกเดียวกัน เข้าในกลุ่มเดียวกัน จากการแบ่งโดยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละคน เช่น จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้โดยเฉลี่ย และ สถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบแต่ละคน เป็นต้น
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์