กำลังรับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวัสดุจีโอโพลีเมอร์ หรือคอนกรีตและเหล็กเสริม
คำสำคัญ:
กำลังยึดเหนี่ยว, เหล็กข้ออ้อย, คอนกรีต, จีโอโพลีเมอร์คอนกรีตจากเถ้าลอย, ระยะเวลาบ่มบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับกำลังยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กข้ออ้อยและคอนกรีต และทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ระหว่างคอนกรีตจากพอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตจากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คอนกรีตที่ออกแบบมี 2 กำลังอัดเหล็กเสริมข้ออ้อยขนาด 12 16 และ 20 มิลลิเมตรและแต่ละตัวอย่างใช้ระยะเวลาการบ่มที่ 28 วัน จากการศึกษาพบว่ากำลังรับแรงยึดเหนี่ยวมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังรับแรงอัดหรือเมื่อลดขนาดหน้าตัดของเหล็กเสริมลงตามที่คาดการณ์ไว้ กำลังยึดเหนี่ยวของคอนกรีตจากพอร์ตแลนด์ซีเมนต์กับเหล็กเสริมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นผลมาจากระยะเวลาการบ่มตัวอย่าง แต่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเพิ่มกำลังอัด กำลังยึดเหนี่ยวของจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตจากเถ้าลอยมีค่ากำลังอัดสูงกว่าที่ออกแบบไว้เล็กน้อยเนื่องจากระยะเวลาที่ใช้บ่ม อย่างไรก็ตามค่ากำลังยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กอย่างมีนัยสำคัญ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
Chindaprasirt P, Chareerat T, Sirivivananon V (2007) Workability and strength of coarse high calcium fly ash geopolymer. Cement and concrete Composites 29(3) 224-229
อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์ (2017) หนังสือวัสดุจีโอโพลิเมอร์
G. Görhan, R.Aslaner, O0Sinik “the effect of curing on he properties of metakaolin and fly ash-based geopolymer paste,” Composites Part B, vol.97 pp.329-335, 2016
P.K Sarker. “ Bond strength of reinforcing steel embedded in fly ash-base geopolymer concrete” Materials and Structures , vol. 44, pp. 1021-1030,2011
เธียรศักดิ์ กลับประสิทธิ์ (2549) ผลกระทบของส่วนผสมและอุณหภูมิต่อกำลังอัดของจีโอโพลิเมอร์เพสต์ ที่ทำจากเถ้าแกลบ-เปลือกไม้และเถ้าถ่านหิน
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์