การประเมินความเสี่ยงการชำรุดของประแจรางรถไฟ

ผู้แต่ง

  • ธิตินันท์ รวมทรัพย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • โรจนัสถ์ รัตนวัน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รัฐพงศ์ มีสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภาสุรีย์ ล้ำสกุล คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ระบบขนส่งทางราง, ประแจรางรถไฟ, การจัดการความเสี่ยง, การวางแผนซ่อม

บทคัดย่อ

ระบบขนส่งทางรางกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อประเทศไทย การใช้ระบบขนส่งทางรางให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการทรัพย์สิน (Assets) ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารจัดการทรัพย์สินของระบบขนส่งทางรางโดยใช้หลักการจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO31000 ควบคู่กับการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบที่วิกฤติ (Failure Modes, Effects and Criticality Analysis, FMECA) โดยมีกรณีศึกษาคือ ประแจรางรถไฟหรือจุดสับราง (Railway switches and crossings) บนโครงข่ายแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (Airport Rail Link city line) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนเส้นทางของขบวนรถไฟ ผลการศึกษาจะแสดงในรูปแบบค่าวิกฤติของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของประแจรางรถไฟ พร้อมข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญรวมถึงการวางแผนซ่อมบำรุงประแจรางรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08