การประยุกต์ใช้ระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงบนอากาศยานไร้คนขับเพื่อรังวัดวัดรอยพิมพ์ฐานอาคาร

การประยุกต์ใช้ระบบกล้องชุดถ่ายเฉียงบนอากาศยานไร้คนขับเพื่อรังวัดรอยพิมพ์ฐานอาคาร

  • จเด็จ ไพศาลสิทธิกานต์ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ไพศาล สันติธรรมนนท์
คำสำคัญ: Multi-head Oblique Cameras, Camera-Rig, Building Footprint, Oblique Image

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายเฉียงที่ได้จากระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงติดตั้งบนอากาศยานไร้คนขับชนิด VTOL (Vertical Take-off and Landing) เพื่อรังวัดรอยพิมพ์ฐานอาคารสำหรับงานออกแบบทางด้านวิศวกรรมโยธาและการวางผังเมือง โดยระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพจำนวน 2 กล้องวางตัวเฉียงกับแนวดิ่งและแนวบินถ่ายภาพ กล้องทั้งสองถูกโยงยึดไว้ด้วยอุปกรณ์แท่นยึดกล้อง (Camera-Rig) โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงการเลื่อนที่ (Translation) และการหมุน (Rotation) ที่สัมพัทธ์ต่อกัน ทำการบินถ่ายภาพแบบกริดตามหลักการทางโฟโตแกรมเมตรีโดยมีส่วนซ้อนด้านหน้า (Front Overlap) 80% และส่วนซ้อนด้านข้าง (Side Overlap) 60% และบันทึกภาพทั้งสองกล้องพร้อมกัน  ผลการวิจัยพบว่า การรังวัดรอยพิมพ์ฐานอาคารจากภาพถ่ายเฉียงที่ได้ มีความถูกต้องใกล้เคียงกับวิธีรังวัดภาคพื้นดินด้วยกล้องสำรวจแบบประมวลผลรวม (Total Station) และมีความถูกต้องเพียงพอที่จะแสดงผลบนแผนที่มาตราส่วน 1:1,000 ไปจนถึงแผนที่มาตราส่วนที่เล็กกว่า

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
ไพศาลสิทธิกานต์จ. และ สันติธรรมนนท์ไ. 2020. การประยุกต์ใช้ระบบกล้องชุดถ่ายภาพเฉียงบนอากาศยานไร้คนขับเพื่อรังวัดวัดรอยพิมพ์ฐานอาคาร. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI05.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์