การศึกษาค่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวบริเวณทางแยกสัญญาณไฟที่มีและไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังประกอบสัญญาณไฟ

  • พรเทพ พวงประโคน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • พงศกร ปัญญา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • แนววิทย์ บุญทา
  • ซุกรอน เซ็งสาเมาะ
คำสำคัญ: เวลาสูญเสียเริ่มต้น, ทางแยก, สัญญาณไฟ, นับเวลาถอยหลัง, การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร

บทคัดย่อ

เวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวของการจราจรบริเวณทางแยกสัญญาณไฟเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการออกแบบช่องจราจรและรอบสัญญาณไฟ นอกจากนี้ยังสามารถสะท้อนพฤติกรรมการขับขี่ที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่และบ่งชี้ประสิทธิภาพในการจัดการทางแยก การทราบค่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มที่ถูกต้องทำให้สามารถออกแบบรอบสัญญาณไฟได้เหมาะสมและจัดการทางแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ทำการศึกษาเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวบริเวณทางแยกสัญญาณไฟที่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังประกอบสัญญาณไฟซึ่งได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างทางแยกที่มีและไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังจำนวนประเภทละ 3 ทางแยก ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นเฉลี่ยของแต่ละทางแยกมีค่าระหว่าง 1.99 ถึง 4.50 วินาที เวลาสูญเสียเริ่มต้นเฉลี่ยบริเวณทางแยกที่มีและไม่มีการนับเวลาถอยหลังเท่ากับ 3.54 และ 3.28 วินาที ตามลำดับแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวเฉลี่ยของแต่ละทางแยกมีค่าระหว่าง 2.36 ถึง 2.75 วินาที ระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวเฉลี่ยบริเวณทางแยกที่มีและไม่มีการนับเวลาถอยหลังเท่ากับ 2.58 และ 2.50 วินาที ตามลำดับแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมจราจรในและนอกช่วงเวลาเร่งด่วน พบว่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
พวงประโคนพ., ปัญญาพ., บุญทาแ. และ เซ็งสาเมาะซ. 2020. การศึกษาค่าเวลาสูญเสียเริ่มต้นและระยะห่างของเวลาระหว่างรถยนต์อิ่มตัวบริเวณทางแยกสัญญาณไฟที่มีและไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์นับเวลาถอยหลังประกอบสัญญาณไฟ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL31.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้