การศึกษาความเหมาะสมของระยะห่างในการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝน

ผู้แต่ง

  • รัชเวช หาญชูวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ธนัท นกเอี้ยงทอง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • วลัยรัตน์ บุญไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

สถานีวัดน้ำฝน, การตรวจสอบคุณภาพข้อมูลปริมาณน้ำฝน, ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์, ระยะห่างของตำแหน่งที่ตั้งสถานีวัดน้ำฝน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพข้อมูลน้ำฝนและศึกษาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ของข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจวัดจากสถานีวัดน้ำฝนเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ระยะห่างของตำแหน่งที่ตั้งสถานีวัดน้ำฝนที่เหมาะสมได้ โดยเลือกพื้นที่อำเภอตรอนและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่ศึกษา ในการศึกษาได้ใช้วิธี Double Mass Curve เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝน และได้วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจวัดจากสถานีวัดน้ำฝนในพื้นที่ศึกษาโดยใช้ข้อมูลน้ำฝนสะสมรายปี ผลการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝนด้วยวิธี Double Mass Curve ของสถานีวัดน้ำฝน 10 สถานีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอตรอนและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่ามีสถานีวัดน้ำฝนผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝน 9 สถานี และต้องมีการปรับแก้ข้อมูลน้ำฝน 1 สถานี สำหรับพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีสถานีวัดน้ำฝนทั้งหมด 11 สถานี ซึ่งผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลน้ำฝนทั้ง 11 สถานี ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลน้ำฝนสะสมรายปีในแต่ละสถานีวัดน้ำฝนเพื่อใช้วิเคราะห์ระยะทางที่เหมาะสมในการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝน พบว่าพื้นที่ของอำเภอตรอนและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ระยะทางที่เหมาะสมในการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝนอยู่ในช่วง 5 ถึง 10 กิโลเมตร

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08