การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาถ คำศิริ กรมทางหลวงชนบท
  • ปรีชา โสภารัตน์
  • สุเมธี วงศ์ศักดิ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, ถนนสายรอง, กรมทางหลวงชนบท

บทคัดย่อ

เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่นๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง และจังหวัดระยอง 45 สายทาง พบว่าในกรณีที่มีการพัฒนาพื้นที่ EEC แต่ไม่มีการปรับปรุงสายทางเพื่อรองรับ จะทำให้ระดับการให้บริการของสายทางอยู่ในระดับ D ซึ่งต่ำกว่าระดับการยอมรับได้ตามมาตรฐานของ American Association of State Highway and Transportation Official จำนวน 18 สายทาง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้นจึงได้ทำการออกแบบและปรับปรุงสำหรับสายทางดังกล่าว โดยขยายเป็น 4 ช่องจราจร ช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทาง 2.5 เมตร จำนวน 13 สายทาง และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการปรับปรุงสายทางทั้ง 13 ทาง พบว่าค่า NPV และค่า B/C มีค่าเป็นบวก และค่า EIRR อยู่ระหว่าง 9% - 29%

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-06