การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้อยมาตรฐานด้วยวัสดุผสมซีเมนต์-โพลีเมอร์

ผู้แต่ง

  • กัญจน์ สลีวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม
  • กรกฎ นุสิทธิ์

คำสำคัญ:

การปรับปรุงคุณภาพดิน, ดินลูกรัง, ปูนซีเมนต์, โพลีเมอร์, กำลังรับแรงอัดแกนเดียว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงคุณภาพของดินลูกรังด้อยมาตรฐาน ด้วยวัสดุผสม ซีเมนต์-โพลีเมอร์ (cement-polymer mixture) เพื่อลดปริมาณการใช้ซีเมนต์ลงในการปรับปรุงคุณภาพดิน ให้สามารถรับกำลังรับแรงอัดได้ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ซึ่งในปัจจุบัน ซีเมนต์ถูกใช้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังอยู่ด้วย แต่เนื่องด้วยดินปรับปรุงด้วยซีเมนต์ จะมีค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงแต่มีความสามารถในการรับแรงดัดต่ำ และก็ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากน้ำและความชื้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างซีเมนต์และโพลีเมอร์ (Polymers) ที่นำมาปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้อยมาตรฐาน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้โพลีเมอร์มาช่วยในการพัฒนาความสามารถในการรับแรดดัดและการทนต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากน้ำและความชื้นโดยการศึกษานี้พิจารณาการพัฒนากำลังรับแรงอัดแกนเดียว กำลังการรับแรงดัด และความสามารถในการดูดซึมน้ำของดินลูกรังด้อยมาตรฐานที่ผสมซีเมนต์ประเภทที่ 1 และโพลีเมอร์ ในการทำเป็นตัวเชื่อมประสานของดินลูกรัง โดยแทนที่ซีเมนต์ด้วยโพลีเมอร์ที่ 0, 5, 10, 15, 20% และที่อายุการบ่ม 7 และ 28 วัน จากผลการทดสอบพบว่าอัตราส่วนการแทนที่ด้วยโพลีเมอร์ 10% มีค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวดีที่สุด และมีการพัฒนาการรับแรงดัด ร่วมกับการซึมได้ของน้ำที่ต่ำ ดังนั้น ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมนี้จะสามารถนำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพดินลูกรังด้อยมาตรฐานสำหรับการใช้งานบนถนน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##