การตรวจวัดค่าสัมประสิทธิ์การกระจายแรงและค่าตัวคูณแรงกระแทกของสะพาน Box Beam และ Plank Girder ประเภทพื้นต่อเนื่องของกรมทางหลวง เพื่อปรับปรุงการออกแบบ

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง
  • ราชวัลลภ กัมพูพงศ์ สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง
  • อารักษ์ มณฑา สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง
  • วิกรินทร์ สอนถม
  • อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง

คำสำคัญ:

สะพาน, ทางหลวง, Box Beam, Plank Girder, พื้นต่อเนื่อง, ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายแรง, ค่าตัวคูณแรงกระแทก

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาการตรวจวัดพฤติกรรมการรับแรงของสะพาน Box Beam และ Plank Girder ประเภทพื้นต่อเนื่องของกรมทางหลวงภายใต้การจราจรปกติ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายแรง (Girder Distribution Factor, GDF) และค่าตัวคูณแรงกระแทก (Impact Factor, IM) เปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากมาตรฐานการออกแบบสะพาน AASHTO ผลการวิเคราะห์ความเครียดพบว่า GDF จะเพิ่มขึ้นตามระดับการยึดรั้งและมุมเฉียงของสะพานไม่ได้ขึ้นกับจำนวนช่วงต่อเนื่องของสะพาน ค่า GDF ที่คำนวณตาม AASHTO LRFD (2007 SI) ให้ค่าใกล้เคียงกับค่า GDF ของสะพานที่มีการยึดรั้งจากช่วงพื้นต่อเนื่องเพียงอย่างเดียวและไม่มีมุมเฉียง ส่วนค่า GDF ที่คำนวณตาม AASHTO STANDARD (2002) ให้ค่าใกล้เคียงกับค่า GDF ของสะพานที่มีการยึดรั้งเพิ่มเติมเนื่องจากทางเท้าและสะพานมีมุมเฉียง ในส่วนของ IM ผลการศึกษาเป็นไปในแนวทางเดียวกับ GDF กล่าวโดยสรุป การออกแบบสะพานประเภท Box Beam และ Plank Girder ประเภทพื้นต่อเนื่อง ยังคงสามารถใช้สูตรการออกแบบของ AASHTO ได้ โดยสะพานที่มีการยึดรั้งสูง มีทางเท้า มีมุมเฉียงมาก ควรใช้สูตรการคำนวณ GDF ตาม AASHTO STANDARD (2002) ซึ่งให้ค่าใกล้เคียงความเป็นจริงและปลอดภัยกว่าสูตรของ AASHTO LRFD (2007 SI)

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
อมรประสิทธิ์ผล ว. และคณะ 2020. การตรวจวัดค่าสัมประสิทธิ์การกระจายแรงและค่าตัวคูณแรงกระแทกของสะพาน Box Beam และ Plank Girder ประเภทพื้นต่อเนื่องของกรมทางหลวง เพื่อปรับปรุงการออกแบบ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR12.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##