นโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาของบัณฑิตศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • สุลินดา นวลประสงค์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและวิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อารียา ฤทธิมา
  • รันจนา จินดัล

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการหลักสูตร, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)

บทคัดย่อ

นโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้หลักสูตรสามารถวิเคราะห์และวางแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการของหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทุนการศึกษามีส่วนช่วยดึงดูดความสนใจและเพิ่มอัตรารับเข้าของนักศึกษาในแต่ละปี รวมทั้งเป็นการสนับสนุนผู้ที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมและมีศักยภาพสูงให้เข้าศึกษาในหลักสูตร จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ที่ต้องการทราบจุดแข็งของนโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาที่สัมพันธ์กับจำนวนการรับเข้าและระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา โดยได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่เข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) ในช่วงปีการศึกษา 2553-2561 จำนวน 76 คน ของระบบฐานข้อมูลของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและข้อมูลระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาทั้งในกรณีได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาและกรณีไม่ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา การศึกษานี้ได้อ้างอิงข้อมูลจาก 2 แหล่งทุนหลักที่หลักสูตรได้เข้าร่วม ได้แก่ (1) โครงการทุนรัฐบาลนอร์เวย์ (Norwaygian Government Scholarship Program : Capacity Building for Institute in Myanmar, CBIM) และ (2) ทุนการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Postgraduate Scholarship, MUPostGrad) ผลการศึกษาพบว่า การให้การสนับสนุนทุน CBIM ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษารับเข้าของหลักสูตร เนื่องจากแหล่งทุนจำกัดจำนวนการให้ทุนและระบุการให้ทุนเฉพาะนักศึกษาสัญชาติเมียนมาเท่านั้น ในขณะที่การให้การสนับสนุนทุน MUPostGrad นั้น ส่งผลต่อจำนวนรับเข้าของนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นถึง 2.46 เท่า ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 เนื่องจากพิจารณาการให้ทุนจากคุณสมบัติทางการศึกษาของผู้สมัครเป็นหลัก นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าการให้ทุนสนับสนุนทั้ง 2 ประเภท ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาที่เร็วขึ้น กล่าวคือ ระยะเวลาสำเร็จการศึกษาของผู้รับทุน CBIM อยู่ในช่วงระหว่าง 2-2.5 ปี และอยู่ในช่วงระหว่าง 2.5-3.0 ปี สำหรับผู้รับทุน MUPostGrad

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-06

วิธีการอ้างอิง

[1]
นวลประสงค์ ส. และคณะ 2020. นโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาของบัณฑิตศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEE02.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##