ความพึงพอใจในระบบเดินทางแบ่งปันกันใช้ของนิสิตในเขตมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • แซนด้า วิน Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
  • สรวิศ นฤปิติ Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
  • พงษ์ศักดิ์ บัณฑิตสกุลชัย
คำสำคัญ: ระบบเดินทางแบ่งปันกันใช้, รูปแบบการเดินทางในวิทยาเขต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่ถือกำเนิดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยได้มีการสนับสนุนให้บริการรถโดยสารภายใน (CU Pop bus) แก่นิสิตและบุคลากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งได้ให้บริการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยและสามารถเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ในปัจจุบันพบว่ามีผู้เข้าใช้บริการ CU Pop bus เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดความแออัดเนื่องจากความสามารถในการให้บริการมีค่อนข้างจำกัด มหาวิทยาลัยยังให้บริการนวัตกรรมรูปแบบใหม่ คือ รถแบ่งปันกันใช้ (shared vehicle) ที่ขับเอง มีชื่อว่า Ha:mo  รถที่เรียกบริการเดินทาง มีชื่อว่า Muvmi และ รถจักรยานแบ่งปันกันใช้ หรือ CU Bike ซึ่งเป็นทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มความสะดวก การเข้าถึง และช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการเดินทางภายในและรอบ ๆ มหาวิทยาลัยนอกเหนือจาก CU Pop bus ที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการบริการแบ่งปันกันใช้ (Shared mobility) ในปัจจุบันและเพื่อวิเคราะห์ความต้องการใช้งานระบบแบ่งปันกันใช้ ที่มีความสัมพันธ์กับราคาค่าบริการ ข้อมูลมาจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามจำนวน ทั้งสิ้น 370 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา(Descriptive) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเส้นแบบการถดถอย(Multiple linear regression analyses) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมหาวิทยาลัยคือรถโดยสารภายใน (CU Pop bus) การวิเคราะห์ความพึงพอใจในการให้บริการทำให้เห็นปัจจัยที่บ่งบอกได้ว่านิสิตมีความพึงพอใจกับการให้บริการในปัจจุบันและพบอีกว่าปัจจัยที่น่าสนใจของบริการรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ คือ Ha:mo และ Muvmi ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการและเวลาที่คอยเพื่อใช้บริการ ในแบบจำลองความต้องการเชิงเส้นแบบถดถอยของรูปแบบการเดินทางแบบ Ha:mo และ Muvmi พบว่าปริมาณการใช้งานทั้งหมดจะขึ้นกับนิสิตที่เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาติขับขี่ , เพศ , รวมถึงความพึงพอใจในเวลาเดินทาง ในงานวิจัยยังพบว่าการงดเว้นค่าบริการหรือลดอัตราค่าบริการนั้นจะสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้กับนิสิตเพื่อใช้บริการรูปแบบการเดินทางเหล่านี้ได้ดี

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] T. Tokar, "Behavioural research in logistics and supply chain management," The International Journal of Logistics Management, vol. 21, no. 1, pp. 89-103, 2010.

[2] S.-I. I. Su, J.-y. F. Ke, and L. Cui, "Assessing the Innovation Competence of a Third-Party Logistics Service Provider: A Survey Approach," Journal of Management Policy & Practice, vol. 15, no. 4, 2014.

[3] I. V. McLoughlin et al., "Campus mobility for the future: the electric bicycle," Journal of Transportation Technologies, vol. 2, no. 01, p. 1, 2012.

[4] M. Avital, M. Andersson, J. Nickerson, A. Sundararajan, M. Van Alstyne, and D. Verhoeven, "The collaborative economy: a disruptive innovation or much ado about nothing?," in Proceedings of the 35th International Conference on Information Systems; ICIS 2014, 2014: Association for Information Systems. AIS Electronic Library (AISeL), pp. 1-7.

[5] A. Felländer, C. Ingram, and R. Teigland, "Sharing economy," in Embracing Change with Caution. Näringspolitiskt Forum Rapport, 2015, no. 11.

[6] A. Sundararajan, "From Zipcar to the sharing economy," Harvard business review, vol. 1, 2013.

[7] J. Miller and J. P. How, "Predictive positioning and quality of service ridesharing for campus mobility on demand systems," in 2017 IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA), 2017: IEEE, pp. 1402-1408.

[8] N. Fellows and D. Pitfield, "An economic and operational evaluation of urban car-sharing," Transportation Research Part D: Transport and Environment, vol. 5, no. 1, pp. 1-10, 2000.

[9] Z. Li, Y. Hong, and Z. Zhang, "Do ride-sharing services affect traffic congestion? An empirical study of uber entry," SSRN Electronic Journal, no. 2002, pp. 1-29, 2016.

[10] B. Cohen and P. Muñoz, "Sharing cities and sustainable consumption and production: towards an integrated framework," Journal of cleaner production, vol. 134, pp. 87-97, 2016.

[11] J. Miles, "Tolerance and variance inflation factor," Wiley StatsRef: Statistics Reference Online, 2014.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
วินแ., นฤปิติส. และ บัณฑิตสกุลชัยพ. 2020. ความพึงพอใจในระบบเดินทางแบ่งปันกันใช้ของนิสิตในเขตมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL40.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์